กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กอายุ 0-5 ปี โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2516-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมือและห์
วันที่อนุมัติ 14 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 16,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวทัศนิม บินอูมา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนุรียานี วาแม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.434,101.507place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโต ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยเฉพาะด้านสมองซึ่งมีการเติบโตร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ เป็นวัยที่สำคัญเหมาะสมในการปูพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในอบรมเลี้ยงดู ให้ความรักความเอาใจใส่ โดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ 3 ปี เป็นโอกาสทองของชีวิต เพราะว่าสมองมีการเจริญเติบโตสูงสุด พร้อมที่จะเรียนรู้ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
จากข้อมูลสถานการณ์ ปี พ.ศ. 2565 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย ในประเด็นพัฒนาการเด็กปฐมวัย จัดทำการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ประเทศไทย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) และกรมอนามัย พบว่า เด็กปฐมวัยไทย (อายุต่ำกว่า 5 ปี) มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 92.3 พบว่า มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและภาษาต่ำที่สุดจากทั้ง 5 ด้าน อยู่ที่ร้อยละ 61 ในเด็กผู้ชาย และร้อยละ 64 ในเด็กผู้หญิง แนะนำพ่อแม่ควรใช้เวลาในการเล่นและการอ่านหนังสือกับลูกให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
ผลการประเมินพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2563 ถึง ปี พ.ศ. 2565 ทั้ง 5 กลุ่มช่วงอายุ ได้แก่ ช่วงอายุ 9 เดือน ช่วงอายุ 18 เดือน ช่วงอายุ 30 เดือน ช่วงอายุ 42 เดือน และ ช่วงอายุ 60 เดือน ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมือและห์ ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พบว่าเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าร้อยละ ๒.๗9 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ 5๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลพัฒนาการเด็ก และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในทุกช่วงวัย เพื่อให้การดูแลพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับการดูแล ด้านพัฒนาการเด็กอย่างถูกต้อง สามารถเฝ้าระวังด้านพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อเพื่อการรักษาในรายที่มีปัญหาอย่างรวดเร็วตามช่วงอายุเด็ก เพื่อให้เด็กวัยดังกล่าวมีโภชนาการดี พัฒนาการที่สมวัย เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมือและห์ ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการ เด็กอายุ o-๕ ปี โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย ปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมการอบรม เชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในเรื่อง พัฒนาการเด็ก โภชนาการเด็ก ช่วงอายุ 0-5 ปี ๑. ชี้แจงกลุ่มเป้าหมายให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านในแต่ละเขตรับผิดชอบเข้าร่วมโครงการ ๒. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองเด็ก พร้อมอบรมฟื้นฟูความรู้ ดังนี้ - เรื่อง การใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (DSPM)ตามช่วงอายุเด็ก o – 5 ปี - เรื่อง ส่งเสริมโภชนาการเด็ก ตามช่วงอายุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๖.๑ เด็กอายุ o – ๕ ปีทุกคน ได้รับการเฝ้าระวังตรวจประเมินพัฒนาการโดยใช้เครื่องมือ DSPM
    ๖.๒ เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างรวดเร็ว และส่งต่อโรงพยาบาลทันที ๖.๓ ผู้ปกครองเด็กสามารถกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่บ้านได้อย่างต่อเนื่อง ๖.๔ เด็กอายุ o-๕ ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการสมวัยร้อยละ ๙o ๖.๕ ผู้ปกครองเด็กมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในเรื่องโภชนาการ พัฒนาการเด็ก o-๕ ปี และวัคซีน ร้อยละ ๘o
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2566 14:31 น.