กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ห่างไกลโรค
รหัสโครงการ 66-L3012-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 สิงหาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอันวาร์ เบ็ญอิสมาแอล
พี่เลี้ยงโครงการ นายรอมซี สาและ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์
38.98
2 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า
10.00
3 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากช่วงวัยต้นของชีวิต คือ เด็ก 0–5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ดังนั้นเพื่อให้เด็กวัย 0–5 ปีมีสุขภาพดีนั้น ควรได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 5 ด้านได้แก่ การเจริญเติบโตสมส่วนตามวัย พัฒนาการด้านสมองตามวัย การดูแลสุขภาพช่องปากไม่ให้มีฟันผุ การได้รับวัคซีนครบตามกำหนดและภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก จากการการสำรวจพบว่า ภาวะโภชนาการของเด็กปัตตานี มีเด็กผอม และ เด็กเตี้ยสูงกว่าเกณฑ์ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ บิดามารดาไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลสำรวจ IQ เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามี IQ เฉลี่ยแล้ว ต่ำที่สุดในประเทศไทย เรื่องของวัคซีน พบว่าการครอบคลุมในการรับวัคซีน ต่ำมากเกือบทุกตัว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการรับวัคซีนช้า ไม่เห็นประโยชน์ของวัคซีน และเกิดอาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน อีกทั้งยังพบปัญหาฟันผุในเด็ก เนื่องจากมีพฤติกรรมการไม่แปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง และยังพบภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร่วมด้วย ซึ่งจากผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2565 ของตำบลตันหยงลุโละ งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (วัคซีน) ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 38.98 ,งานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 89.51 ,งานส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 100 และการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเด็กพบว่ามีเด็กอายุ 3-5 ปี มีฟันผุ ร้อยละ 67.54 และได้รับการเจาะเลือดตรวจภาวะซีด ร้อยละ 8.09 (ข้อมูลจาก HDC) จากรายงานแม้ขนาดของปัญหาลดลง แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับภาคและระดับประเทศ จึงทำให้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของเด็กแบบองค์รวมให้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดี ห่างไกลโรค เพื่อให้ความรู้เรื่องดังกล่าวแก่ผู้ปกครอง และส่งเสริมพัฒนาเด็กวัย 0-5 ปี ในเรื่องการกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าระวังฟัน วัคซีน โภชนาการ และภาวะซีด เพื่อสร้างเด็กให้สุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมาะสมตามวัย เป็นพลเมืองสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์เด็กเล็ก(0-3 ปี) ขึ้น

ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

38.98 25.00
2 เพื่อลดภาวะพัฒนาการล่าช้าเด็กเล็ก (0-6 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

10.00 5.00
3 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

10.00 5.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ในเรื่องโภชนาการ พัฒนาการ ภาวะโลหิตจาง วัคซีน และฟัน

ร้อยละ 80 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ในเรื่องโภชนาการ พัฒนาการ ภาวะโลหิตจาง วัคซีน และฟัน

80.00 100.00
5 เพื่อให้ผู้ปกครองมีทักษะ ในการูดแลเฝ้าระวังเบื้องต้นได้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ในเรื่องโภชนาการ พัฒนาการ ภาวะโลหิตจาง วัคซีน และฟัน

ร้อยละ 80 เพื่อให้ผู้ปกครองมีทักษะ ในการูดแลเฝ้าระวังเบื้องต้นได้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ในเรื่องโภชนาการ พัฒนาการ ภาวะโลหิตจาง วัคซีน และฟัน

20.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 172 15,000.00 0 0.00
3 - 30 ส.ค. 66 จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพแก่ผู้ปกครองและเด็กครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน 86 9,350.00 -
1 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมเข้าฐานแต่และฐาน 86 5,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน
  2. ผู้ปกครองมีความรู้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ในเรื่องโภชนาการ พัฒนาการ ภาวะโลหิตจาง วัคซีน และฟัน
    3.ผู้ปกครองมีทักษะ ในการูดแลเฝ้าระวังเบื้องต้นได้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ในเรื่องโภชนาการ พัฒนาการ ภาวะโลหิตจาง วัคซีน และฟัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2566 14:36 น.