กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแกนนำ วัยรุ่น วัยใส รักปลอดภัย
รหัสโครงการ 66-L3012-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอันวาร์ เบ็ญอิสมาแอล
พี่เลี้ยงโครงการ นายรอมซี สาและ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลสถิติพบว่าวัยรุ่นไทยคลอดบุตรที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี ระหว่างปี 2552-2562 พบว่ามี จำนวน 1,138,427 ราย ซึ่งในปี 2562 จำนวน 61,651 ราย คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 97 รายต่อ วัน ก่อนตั้งครรภ์แม่วัยรุ่นยังเป็นนักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาถึงร้อยละ 48.5 และส่วนใหญ่แม่วัยรุ่นที่เป็น นักเรียน นักศึกษาไม่ตั้งใจตั้งครรภ์และไม่มีการคุมกำเนิดถึงร้อยละ 55.2 (Reproductive Health Office, 2020) เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ได้แก่ การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยและการทอดทิ้งเด็ก การติดเชื้อเอดส์ ซึ่งการตั้งครรภ์ไม่พร้อมยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเด็กที่เกิดมาและแม่วัยรุ่นทั้งทางกายและทางจิตใจ (Panichkriangkrai, 2014; Sommana, Chaimay & Woradet, 2018) จากรายงานของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ พบว่า ทารกที่เกิดจากแม่ วัยรุ่น มีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ โลหิตจาง ภาวะขาดสารอาหารทั้งในครรภ์มารดา และหลังคลอด มีโอกาสเจ็บป่วยและพัฒนาการทางร่างกายและสมองช้ากว่าเด็กทั่วไป และที่สำคัญเด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาสังคมต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ยังพบว่าการตั้งครรภ์ใน ขณะที่ร่างกายไม่พร้อมส่งผลให้วัยรุ่นเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะครรภ์เป็นพิษ โลหิตจาง ภาวะตกเลือดหลัง คลอด รวมถึงการเสียชีวิตจากการคลอดบุตร และยังส่งผลกระทบต่อจิตใจ ก่อให้เกิดความเครียดและโรคซึมเศร้า สูง เนื่องจากขาดความเตรียมพร้อมในการมีภาระครอบครัว (Pilasant, 2015) ซึ่งสถาบันครอบครัวมีความสำคัญสูงสุดต่อการกล่อมเกลาเด็ก และวัยรุ่นให้เติบโตเป็น“คน”ที่สมบูรณ์ มีคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น ความรักของพ่อแม่และความอบอุ่นของ ครอบครัว เป็นเสมือนเกราะคุ้มกันเด็กจากสิ่งเลวร้ายที่รุมล้อมอยู่ในสังคม แต่ในปัจจุบัน ปัจจัยรุมเร้าต่าง ๆ ได้ เข้ามาส่งผลต่อสภาพครอบครัวและลักษณะการอบรมเลี้ยงดูเด็กได้เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อศักยภาพของ ครอบครัวไทยในการเลี้ยงดู และย่อมส่งผลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กไทยในปัจจุบันด้วย 3) ปัจจัยด้าน สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้สื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ การเที่ยวสถานเริงรมย์ การใช้สารเสพติด ซึ่งปัจจัยด้านนี้เป็น ตัวกระตุ้นทำให้วัยรุ่นเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างอิสระของวัยรุ่น โดย ขาดการชี้แนะจากผู้ปกครอง การเที่ยวสถานบันเทิงและการใช้สารเสพติดเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในกลุ่มวัยรุ่น ที่บ่งบอกถึงความกล้าและเป็นตัวบ่งบอกถึงการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน ที่วัยรุ่นไม่อาจปฏิเสธเพื่อนได้ และ ผู้ปกครองเองยังไม่ค่อยเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ทำให้ไม่ทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆที่เปลี่ยนไป (Pupunhong, Wuttisin & Traitip, 2016)
ซึ่งจากผลการดำเนินงานด้านงานอนามัยแม่เด็ก ปีงบประมาณ 2566 ของตำบลตันหยงลุโละ พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี มี จำนวน 3 ราย และหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 15-19 ปี ตั้งครรภ์ซ้ำ มีจำนวน 1ราย ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี เห็นความสำคัญของการปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการแกนนำ วัยรุ่น วัยใส รักปลอดภัยเพื่อให้ความรู้นักเรียนกับเยาวชนในตำบลตันหยงลุโละ ได้เรียนรู้เรื่องพัฒนาการทางเพศ และผลกระทบต่อสุขภาพและจิตใจของหญิงตั้งครรภ์อายุน้อย และการวางแผนครอบครัวโดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิดมีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กวัยเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น โรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น HIV ซิฟิลิส จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

ร้อยละ 70 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น โรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี (HIV) ซิฟิลิส จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอัน

1.00 0.00
2 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ด้วยการวางแผนครอบครัวที่มีคุณภาพ

ร้อยละ 70 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ด้วยการวางแผนครอบครัวที่มีคุณภาพ

50.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 110 10,000.00 0 0.00
3 - 18 ส.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ อบรมให้ความรู้โดย 50 5,750.00 -
21 - 31 ส.ค. 66 สร้างเครือข่ายโดย 50 1,050.00 -
1 - 15 ก.ย. 66 เวทีนำเสนอและประกวดผลงาน 10 3,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการตั้งครรภ์ในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่เกินร้อยละ 10
  2. ร้อยละวัยรุ่นตำบลตันหยงลุโละ มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น (ร้อยละ70)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2566 20:39 น.