กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง


“ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นปี 2566 ”

ตำบลระแว้ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นายแวอิลยัส อีบุ๊

ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นปี 2566

ที่อยู่ ตำบลระแว้ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 66-L3033-01-09 เลขที่ข้อตกลง 6/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 3 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นปี 2566 จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลระแว้ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นปี 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นปี 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลระแว้ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 66-L3033-01-09 ระยะเวลาการดำเนินงาน 3 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 20,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

หลักการและเหตุผล
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรมอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 15-19 ปี หรือ 10-14 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 โดยได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วย การสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย ปัญหาที่พบในมารดาวัยรุ่นคือ ภาวะโลหิตจาง การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม และภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดปัตตานีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563-2565 พบอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี เท่ากับ 28.23, 19.9 และ 14.87ต่อประชากรหญิงอายุ15-19 ปี พันคน ตามลำดับ สำหรับปีงบประมาณ 2566 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – มกราคม 2566 ประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี จำนวน 26,616 คน คลอดมีชีพ จำนวน 76 คน คิดเป็นอัตราเท่ากับ 17.48 ต่อประชากรหญิง อายุ 15-19 ปี พันคน (เป้าหมายไม่เกิน 14.4 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน)
ในตำบลระแว้งการสมรสก่อนอายุ 20 ปี เป็นค่านิยมของคนในชุมชน ทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตำบลระแว้งคิดเป็นร้อยละ 5.93 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน แต่พบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอดร้อยละ 50 ต่อมารดาตั้งครรภ์วัยรุ่นในตำบลระแว้งทั้งหมด เช่น ปัญหาภาวะโลหิตจาง การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม อีกทั้งมีปัญหาการหย่าร้างเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องเพศศึกษา ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระแว้ง ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. วัตถุประสงค์ 1.เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2. เพื่อให้เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นมีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเองทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นปี 2566

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่นตำบลระแว้งได้รับองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2.กลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่นตำบลระแว้งมีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเองและมีภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ 3.กลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่นตำบลระแว้งมีความรู้เรื่องการตั้งครรภ์และผลกระทบของการตั้งครรภ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นปี 2566

วันที่ 3 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 1  อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและเยาวชนเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร กิจกรรมที่ 2  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยดำเนินกิจกรรมกลุ่ม ดังนี้
                      2.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างชายหญิง                       2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ                       2.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ                       2.4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์                             ก่อนวัยอันควรที่ขาดการป้องกัน                       2.5 สันทนาการเป็นผู้นำทำกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่                             ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมที่ 3  จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มเป้าหมาย
                      3.1 สาธิตการใช้ถุงยางอนามัยและยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินที่ถูกต้อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการประเมินการเรียนรู้โดยใช้แบบทดสอบ Pre-test และ Post-test  ซึ่งมีคะแนนเต็ม 15 คะแนน พบว่า ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม ได้คะแนนทดสอบก่อนฝึกอบรมโดยเฉลี่ย  มีค่าเท่ากับ 7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 44.77 อยู่ในระดับพอใช้ ส่วนคะแนนทดสอบหลังฝึกอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 12 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 78.24 อยู่ในระดับดี  และหลังการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้เพิ่มขึ้น
การแปลผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละ *0–30.9 = ไม่ผ่านเกณฑ์          *31–50.9 = พอใช้        *51–70.9 = ปานกลาง
*71–80.9 = ดี                        *81–100 = ดีมาก สรุปกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  ปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น นำไปสู่การเกิดสภาพแม่วัยเยาว์ นำมาซึ่งปัญหาด้านสุขภาพมากกว่าผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ในวัยอื่นๆ ทั้งระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอดและหลังคลอด รวมถึงภาวะซึมเศร้าหลังการคลอดบุตร มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องเด่นชัด ได้แก่ การคบเพื่อน  การเที่ยวเตร่ อิทธิพลของสื่อในโลกอินเตอร์เน็ต เรื่องเพศศึกษา ค่านิยมทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจะส่งผลกระทบทุกมิติของชีวิตเด็กและครอบครัว และยังส่งผลกระทบข้ามรุ่นสู่ลูกที่เกิดจากเด็กวัยรุ่นดังกล่าวด้วย นอกจากนั้นยังมีผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจและเป็นภาระต่อระบบสาธารณสุขอีกด้วย การมีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเองและมีภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ทำให้เด็กวัยรุ่นเกิดทักษะการจัดการตนเอง มีทัศนคติเรื่องเพศในมิติของศาสนาที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของวัยรุ่นยุคใหม่ นำไปสู่การใช้ชีวิตครอบครัวเมื่อมีความพร้อม

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2. เพื่อให้เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นมีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเองทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75 กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการร้อยละ 95
1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วัตถุประสงค์ 1.เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร            2. เพื่อให้เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นมีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเองทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นปี 2566

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นปี 2566 จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 66-L3033-01-09

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายแวอิลยัส อีบุ๊ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด