กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเยาวชนจิตใจสดใสป้องกันภาวะซึมเศร้า ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L5281-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลทุ่งนุ้ย
วันที่อนุมัติ 10 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 24,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบุญยืน ทองเงิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงอย่างชัดเจน วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน และเด็กไทยอายุ 5 - 9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ ปัจจุบันการฆ่าตัวตายคือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสามของวัยรุ่นไทย โดยการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนทั่วโลกในส่วนของประเทศไทยเมื่อปี 2564 (2021 Global School-based Student Health Survey) พบว่า ร้อยละ 17.6 ของวัยรุ่นอายุ 13 - 17 ปี มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีสาเหตุซับซ้อน เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยชีวภาพของสมอง ปัจจัยทางจิตสังคมและปัจจัยทางบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิด การตัดสินใจ และอาจนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของวัยรุ่นในประเทศไทย หลายครั้งวัยรุ่นที่มีโรคซึมเศร้าอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้องเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคซึมเศร้า เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ
จากสถิติพบว่าโรคซึมเศร้าของวัยรุ่นในตำบลทุ่งนุ้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิตใจของเด็กวันรุ่นในชุมชน ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นลดลง จึงจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเยาวชนจิตใจสดใสป้องกันภาวะซึมเศร้า ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กวัยรุ่นในโรงเรียน มีความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า

เด็กวัยรุ่นในโรงเรียน  มีความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า ร้อยละ ๘๐

2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กวัยรุ่นในโรงเรียน มีการจัดการกับความเครียดได้อย่างถูกต้อง

เด็กวัยรุ่นในโรงเรียน  มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมชมรมในโรงเรียน ร้อยละ ๑๐๐

3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคซึมเศร้าในเด็กวัยรุ่นในโรงเรียน

อัตราการเกิดโรคซึมเศร้าในกลุ่มเด็กวัยรุ่นในโรงเรียน  ไม่เกินร้อยละ ๑๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 24,650.00 0 0.00
15 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ จำนวน ๑๔๐ คน แบ่งเป็น ๒ รุ่น รุ่นละ ๗๐ คน 140 24,650.00 -

ขั้นเตรียมการ
๑. เสนอร่างโครงการผ่านเวทีพิจารณาโดยคณะกรรมการกองทุน ๒. สำรวจเยาวชนในพื้นที่รับผิดชอบ วางแผนพัฒนาสุขภาพจิตในวัยรุ่น ๓. ประสานงานกับทีมสุขภาพโรงพยาบาลควนกาหลง ผู้นำชุมชน โรงเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุข ขั้นดำเนินการ ๔. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่เจ้าหน้าที่ อสม.และผู้นำชุมชน คืนข้อมูลแก่ชุมชน หาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ๕. ประชาสัมพันธ์โครงการ ประสานงานทีมวิทยากร จัดเตรียมเอกสาร ๖. ดำเนินการตามแผนงานโครงการที่จัดทำขึ้น ๖.๑ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความเครียดและปัญหาการซึมเศร้าในปัจจุบัน ๖.๒ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ อาการแสดงภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน - สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน - การช่วยเหลือและการป้องกันกลุ่มเยาวชนที่มีภาวะซึมเศร้า - กลยุทธ์และวิธีการป้องกันรักษาภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน - เยาวชนสดใส ป้องกันการซึมเศร้า ร่วมใจต้านอบายมุข ขั้นประเมินผล ๗. สรุปและรายงานผลต่อคณะกรรมการกองทุน ๘. ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ ๙. ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับงบประมาณ ๑๐. ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑๑. ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับความทันเวลาในการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น ๒. เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคเครียดและซึมเศร้าได้ ๓. เยาวชนมีบริการด้านสุขภาพที่ดีขึ้นและลดภาวะโรคซึมเศร้าได้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2566 11:49 น.