กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์จัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร
รหัสโครงการ 66-L5281-2-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกตำบลทุ่งนุ้ย
วันที่อนุมัติ 10 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 สิงหาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 132,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นางรอกีย๊ะ ยูฮันนัน 2. นายสุกกี สามัญ 3. นายสุไลหมาน ตะวัน 4. นางสาวธารทิพย์ มะแอเคียน 5. นางสาวณัฐชุดา บุญเหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคในระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในคนทั่วไป แม้ว่าอาการอาจจะไม่รุนแรง แต่กลับเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งหากพูดถึงระบบทางเดินอาหารแล้ว เราจะนับตั้งแต่เราทานอาหารเข้าไป คือ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก หรืออวัยวะที่ช่วยผลิตน้ำย่อยอย่างเช่น ตับ ถุงน้ำดี เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นหากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเกิดความผิดปกติ ระบบทางเดินอาหารก็จะเริ่มแสดงออกถึงอาการต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ โรคจากพยาธิต่างๆ โรคท้องร่วง เชื้ออหิวาตกโรค ไทฟอยด์ และโรคบิด นอกจากนี้ยังอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น
การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนให้ถูกสุขลักษณะ เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันโรค ในระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากขยะอินทรีย์เป็นขยะที่มีทั้งความชื้นและสารอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ใช้เป็นอาหาร ซึ่งเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคต่างๆ หากกำจัดไม่ถูกวิธี อาจมีกลิ่นเหม็นก่อให้เกิดความรำคาญ ทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อม เกิดสภาพไม่น่าดู สกปรก น่ารังเกียจ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน หนู ยุง และแมลงสาบ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อ โดยเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายคนเรา จากการกินอาหารและน้ำ หรือการจับต้องด้วยมือ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนเราได้โดยง่าย สำนักระบาดวิทยา รายงานตั้งแต่ต้นปี 2562 พบผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร 6 โรคสำคัญ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง 575,112 ราย โรคอาหารเป็นพิษ 59,360 ราย โรคบิด 432 ราย อหิวาตกโรค 9 ราย ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย
560 ราย ไวรัสตับอักเสบเอ 224 ราย ส่วนในพื้นที่ตำบลทุ่งนุ้ยพบผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร
จำนวน 162 ราย (แบบรง.504 ประจำเดือนมิถุนายน 2566 ของรพ.สต.ทุ่งนุ้ย และรพ.สต.บ้านควนบ่อทอง) จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกตำบลทุ่งนุ้ย เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์จัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน และส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะอินทรีย์โดยมีแกนนำอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก เป็นต้นแบบและนำร่องในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ส่งผลให้ตำบลทุ่งนุ้ยสามารถป้องกันและลดผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก รณรงค์สร้างความตระหนักให้กับประชาชนในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร

ประชาชนมีความตระหนักในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร

2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะอินทรีย์โดยมีแกนนำอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก เป็นต้นแบบและนำร่องในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร

ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร โดยมีแกนนำอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ในการนำร่องและเป็นต้นแบบในการจัดการขยะอินทรีย์

3 เพื่อให้ตำบลทุ่งนุ้ยมีผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารลดลง

ตำบลทุ่งนุ้ยมีผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 360 132,000.00 0 0.00
23 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 1. กิจกรรมอบรมการจัดการขยะอินทรีย์ หมู่ที่ 1 บ้านควนบ่อทอง จำนวน 30 คน 30 11,000.00 -
23 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 2. กิจกรรมอบรมการจัดการขยะอินทรีย์ หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งนุ้ย จำนวน 30 คน 30 11,000.00 -
23 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 3. กิจกรรมอบรมการจัดการขยะอินทรีย์ หมู่ที่ 3 บ้านหัวกาหมิง จำนวน 30 คน 30 11,000.00 -
23 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 หมู่ที่ 4 บ้านน้ำร้อน 30 11,000.00 -
23 ส.ค. 66 5. กิจกรรมอบรมการจัดการขยะอินทรีย์ หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนัน จำนวน 30 คน 30 11,000.00 -
23 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 6. กิจกรรมอบรมการจัดการขยะอินทรีย์ หมู่ที่ 6 บ้านน้ำหรา จำนวน 30 คน 30 11,000.00 -
23 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 7. กิจกรรมอบรมการจัดการขยะอินทรีย์ หมู่ที่ 7 บ้านเกาะใหญ่ จำนวน 30 คน 30 11,000.00 -
23 ส.ค. 66 8. กิจกรรมอบรมการจัดการขยะอินทรีย์ หมู่ที่ 8 บ้านค่ายรวมมิตร จำนวน 30 คน 30 11,000.00 -
23 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 9. กิจกรรมอบรมการจัดการขยะอินทรีย์ หมู่ที่ 9 บ้านทุ่งพัก จำนวน 30 คน 30 11,000.00 -
23 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 10. กิจกรรมอบรมการจัดการขยะอินทรีย์ หมู่ที่ 10 บ้านควนเรือ จำนวน 30 คน 30 11,000.00 -
23 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 11. กิจกรรมอบรมการจัดการขยะอินทรีย์ หมู่ที่ 11 บ้านสวน จำนวน 30 คน 30 11,000.00 -
23 ส.ค. 66 12. กิจกรรมอบรมการจัดการขยะอินทรีย์ หมู่ที่12 บ้านโคกโดน จำนวน 30 คน 30 11,000.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ - ติดต่อประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน - จัดทำป้ายไวนิลโครงการ เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักในการจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน
เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร - จัดซื้อถังขยะอินทรีย์ ขนาดไม่น้อยกว่า 11 ลิตร โดยเน้นจัดหาถังที่สามารถนำมารีไซเคิลในการทำถังขยะอินทรีย์ได้ เช่น ถังสี หรือถังที่มีฝาปิดอื่น เพื่อส่งเสริมการนำขยะมารีไซเคิล และลดปริมาณขยะรึไซเคิลในพื้นที่หากมีถังที่นำมารีไซเคิลไม่เพียงพอ จำเป็นต้องจัดซื้อถังใหม่ ต้องคำนึงถึงคุณภาพ ความคุ้มค่า และความประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ 2. ขั้นดำเนินงาน - กิจกรรมรณรงค์จัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารพร้อมกันในตำบลทุ่งนุ้ย
2.1 แกนนำอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก รณรงค์สร้างความตระหนัก ในพื้นที่ เพื่อติดตั้งถังขยะปียก ลดโลกร้อน ป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร
2.2 มอบถังขยะเปียก แก่แกนนำอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อนำร่องในการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร     3. ขั้นประเมินผล - สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 ประชาชนมีความตระหนักในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร   10.2 ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร โดยมีแกนนำอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ในการนำร่องและเป็นต้นแบบในการจัดการขยะอินทรีย์   10.3 ตำบลทุ่งนุ้ยมีผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2566 10:15 น.