กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้


“ โครงการส่งเสริมการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก ”

ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวลิสา ผลดี

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก

ที่อยู่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 66-L8402-1-13 เลขที่ข้อตกลง 13/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 66-L8402-1-13 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2566 - 31 ธันวาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 59,670.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นโรคไม่ติดเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดเชื้อเนื่องมาจากแบบแผนชีวิตมนุษย์ที่มีความเครียดมากขึ้น มีนิสัยการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขาดการออกกำลังกาย สิ่งต่างๆเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดโรคจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย ความรุนแรงของโรคเกิดได้ทั้งตายอย่างฉับพลัน และมีภาวะแทรกซ้อนเกิดความพิการก่อนวัยอันควร อย่างไรก็ตามโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคที่สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคลงได้ ถ้าหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก โดยการควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ มีการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตให้สมบูรณ์แข็งแรง    ตามนโยบายของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้กำหนดให้ ประชาชนที่มีอายุ 3๕ ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรวมถึงการวัดรอบเอว ประเมินค่าดัชนีมวลกาย ซึ่งประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องได้รับบริการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต       ดังนั้นจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเร่งการทำงานเชิงรุกในชุมชนเพื่อตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป และให้การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไป ซึ่งทาง โรงพยาบาลส่งเสรมสุขภาพตำบลควนขัน จัดตั้งคลินิก DPAC ในหน่วยงานเพื่อให้บริการคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุศักยภาพในการดูแลตนเองไม่เต็มที่เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้ควบคุมโรคได้และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นควรมีการส่งเสริมศักยภาพในการดูแลตนเองเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยทั่วหน้า       ผลจากการดำเนินงานตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมาจากการดำเนินการคัดกรองโรคเรื้อรังความดันโลหิตสูงในประชากร 35 ปีขึ้นไปจำนวน 1,957 คน ซึ่งได้รับการคัดกรองเบาหวาน 1,852 คิดเป็นร้อยละ 94.63 คัดกรองความดัน จำนวน 1,737  ซึ่งได้รับการคัดกรอง 1,635 คิดเป็นร้อยละ 94.13 โดยมีกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 92 คนและกลุ่มสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 119 คน โดยกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดได้รับการติดตามและให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนั้นเพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวดำเนินต่อไปและเพื่อให้ประชากร 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองฯ เป็นประจำทุกปีจึงได้จัดทำโครงการ  ในปี 2566 ต่อไป จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขัน ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่เพิ่มขึ้น อีกทั้งผู้ป่วยรายเก่าอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นอีกด้วย ถ้าหากไม่มีการแก้ปัญหาที่แท้จริง จึงเกิดโครงการส่งเสริมการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก โดยกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดจะได้รับการติดตามและให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้ประชากร 35 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองฯเป็นประจำทุกปี

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อค้นหาผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในพื้นที่ และส่งต่อผู้ป่วยรับการรักษาโดยพบแพทย์ทุกราย
  2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ความดันโลหิตได้
  4. เพื่อลดภาวการณ์ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  5. เพื่อให้เกิดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทุกหมู่บ้าน และมีหมู่บ้านต้นแบบอย่างน้อย 1 หมู่บ้าน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,295
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
    2. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการดูแลและให้ความรู้ด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    วิธีการดำเนินการ 1.วิเคราะห์ข้อมูลปัญหาของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 2.จัดทำโครงการขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้ 3.ประชุมชี้แจงโครงการ การดำเนินงานกับอาสาสมัครสาธารณสุข 4.จัดหาและเตรียมอุปกรณ์ 5.จัดทำแผนการออกตรวจน้ำตาลในเลือด และตรวจวัดความดันโลหิต 6.ประชาสัมพันธ์โครงการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 7.คัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิต 8.ดำเนินการตรวจน้ำตาลในเลือดและตรวจวัดความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยง พร้อมทั้งให้สุขศึกษาการปฏิบัติตัวในการเฝ้าระวังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 9.ส่งตัวผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนขัน 10.ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยง นัดติดตาม 11.ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตบลคูหาใต้ ผลการดำเนินงาน 1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 96.39 ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 97.25 ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน 2.จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อ จำนวน 12 ราย 3.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 95

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในพื้นที่ และส่งต่อผู้ป่วยรับการรักษาโดยพบแพทย์ทุกราย
    ตัวชี้วัด : กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้รับการเจาะหาน้ำตาลในเลือดทุกราย
    70.00 70.00

    กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้รับการเจาะหาน้ำตาลในเลือดทุกราย

    2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
    ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
    70.00 70.00

    ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

    3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ความดันโลหิตได้
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 95 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงความดันโลหิตและเบาหวาน ตลอดถึงได้รับการประเมินผลภาวะสุขภาพเบื้องต้น
    95.00 95.00

    ร้อยละ 95 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงความดันโลหิตและเบาหวาน ตลอดถึงได้รับการประเมินผลภาวะสุขภาพเบื้องต้น

    4 เพื่อลดภาวการณ์ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    ตัวชี้วัด : ลดภาวการณ์ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    70.00 70.00

    ลดภาวการณ์ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

    5 เพื่อให้เกิดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทุกหมู่บ้าน และมีหมู่บ้านต้นแบบอย่างน้อย 1 หมู่บ้าน
    ตัวชี้วัด : เกิดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทุกหมู่บ้าน และมีหมู่บ้านต้นแบบอย่างน้อย 1 หมู่บ้าน
    50.00 50.00

    เกิดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทุกหมู่บ้าน และมีหมู่บ้านต้นแบบอย่างน้อย 1 หมู่บ้าน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2295 3617
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,295 3,617
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อค้นหาผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในพื้นที่ และส่งต่อผู้ป่วยรับการรักษาโดยพบแพทย์ทุกราย (2) เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง    มีความรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค (3) เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง    มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ความดันโลหิตได้ (4) เพื่อลดภาวการณ์ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (5) เพื่อให้เกิดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทุกหมู่บ้าน และมีหมู่บ้านต้นแบบอย่างน้อย 1 หมู่บ้าน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการส่งเสริมการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 66-L8402-1-13

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวลิสา ผลดี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด