กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสมุนไพรรักษ์โลกเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 2566-L7161-02-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านกาแป๊ะกอตอ)
วันที่อนุมัติ 24 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 29 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 57,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุไรลี่ สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปีแต่เมื่อการแผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเราสรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรไทยอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า ภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อย ๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุดซึ่งความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวางแต่เป็นเพราะเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาการแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด ทำให้เยาวชนรุ่นหลัง ๆ รู้จักสมุนไพรไทยได้น้อยมากและแทบจะไม่รู้จักเลยทั้ง ๆ ที่สมุนไพรเหล่านั้นอยู่ใกล้ ๆ ตัวเราเอง โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านกาแป๊ะกอตอ) เห็นความสำคัญของการสืบสานภูมิปัญญาไทยไม่ให้สูญหาย และเพื่อให้นักเรียน มีการส่งเสริมการนำสมุนไพรและใช้สมุนไพรในพื้นที่บริเวณรอบตัว นำมาทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เช่น การทำยาหม่องการทำน้ำมันไพล การทำลูกประคบ การทำสมุนไพรอบตัวเพื่อสุขภาพ บำบัดโรค บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต บำรุงประสาท สมุนไพรแต่ละชนิด มีคุณค่าและสรรพคุณในตัวเอง แตกต่างกันไป เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคต่างๆ เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองได้

สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์แผนไทยปี พ.ศ.2552, 2554 และ 2556 โดย รัชนี จันทร์เกษและคณะ เผยแพร่ในวารสารวิจัยระบบสาธารณสุขฉบับเมษายน-มิถุนายน 2559 ประชากรไทยที่เจ็บป่วยส่วนใหญ่เลือกไปรักษาที่สถานพยาบาลภาครัฐ การไปหาหมอพื้นบ้าน/หมอแผนโบราณ หรือหมอนวดไทยมีค่อนข้างน้อย ไม่ถึงร้อยละ 2 ของประชากรที่เจ็บป่วย การรักษา ด้วยยาสมุนไพรในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง โดยพบว่ากลุ่มอายุ 25-59 ปีที่เจ็บป่วยมีการใช้ยาแผนโบราณ หรือยาสมุนไพรระหว่างร้อยละ 51.0-60.3 ของประชากรที่เจ็บป่วยทั้งหมดที่น่าสนใจคือโรคปวดหลังและปวดกล้ามเนื้อต่างๆ เป็นกลุ่มอาการที่พบมากเป็นอันดับสอง แต่กลับมีการใช้ยาแผนโบราณหรือสมุนไพรเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 27.3 33.4 และ 31.1 ของประชากรที่ใช้ยาแผนโบราณหรือสมุนไพรในปี พ.ศ.2552, 2554 และ 2556 ตามลำดับ ดังนั้น โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านกาแป๊ะกอตอ) จึงได้เสนอโครงการแปรรูปสมุนไพรไทย เพื่อสุขภาพขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคต่างๆ เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรที่แปรรูปขึ้นมา เช่น น้ำมันไพล ยาหม่อง ลูกประคบ สมุนไพรรอบตัว น้ำสมุนไพรไทย ป้องกันรักษาโรคตามสรรพคุณของสมุนไพร เป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจถึงคุณค่าพร้อมสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดในการป้องกันรักษาโรค เพื่อสู้ภัยโรค ลดการใช้สารเคมีในการปลูกพืชในโรงเรียน ครัวเรือน ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข และยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน ทั้งในกลุ่มเด็กวัยเรียน เยาวชน รวมถึงวัยทำงาน หันมาใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่รอบๆบ้านหรือในชุมชนในการดูแลสุขภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ขอรับรองว่าโครงการนี้ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น มีความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน และเทศบาลเมืองเบตงได้รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ส่งเสริมให้คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนมีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสมุนไพรที่ใช้นำมาแปรรูปสมุนไพรใช้บำบัดรักษาโรคและการดูแลสุขภาพ
  1. คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนมีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสมุนไพรที่ใช้นำมาแปรรูปสมุนไพรใช้บำบัดรักษาโรคและการดูแลสุขภาพ
0.00
2 2. เพื่อคณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ลดความเสี่ยงในการใช้สารเคมี จากยาแผนปัจจุบัน นำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาพยาบาลระดับเบื้องต้น
  1. คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ลดความเสี่ยงในการใช้สารเคมี    จากยาแผนปัจจุบัน นำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาพยาบาลระดับเบื้องต้น
0.00
3 3. ส่งเสริมให้คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้โดยนำสมุนไพรรอบตัวได้
  1. คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้โดยนำสมุนไพรรอบตัว
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 57,560.00 1 57,560.00
28 - 29 ธ.ค. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการทำสมุนไพรใกล้ตัวรักษาสุขภาพและป่วยยามฉุกเฉิน 50 57,560.00 57,560.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ ความเข้าใจในสรรพคุณในการรักษา ป้องกัน โรคต่างๆเบื้องต้น สามารถแปรรูปสมุนไพรรอบตัว รอบรั้ว รอบโรงเรียน
  2. ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ลดความเสี่ยงในการใช้สารเคมีเพื่อให้พืชผักสมุนไพรไว้รับประทานและนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาพยาบาลระดับเบื้องต้น
  3. ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองโดยใช้พืชผักสมุนไพรได้ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2566 00:00 น.