กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ตำบลควนกาหลง (ประเภทที่ 5)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลควนกาหลง
วันที่อนุมัติ 20 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กันยายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสหัส ซุ้ยขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 14808 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการรายงานทางระบาดวิทยาของโรงพยาบาลควนกาหลง เกี่ยวกับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังสตูล ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566 โรงพยาบาลควนกาหลง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในตำบลควนกาหลง จำนวน 53 ราย คิดเป็นอันตราป่วย 359.44 ต่อแสนประชากรคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต โดยมีรายงานผู้ป่วยเดือน มกราคม 0 ราย กุมภาพันธ์ 1 ราย มีนาคม 0 ราย เมษายน 1 ราย เมษายน 1 ราย พฤษภาคม 9 ราย มิถุนายน 17 ราย กรกฎาคม 18 ราย และเดือนสิงหาคม 7 ราย จึงถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงต้องมีการเตรียมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างเข้มข้น โดยใช้มาตรการที่หลากหลาย ได้แก่ การกำจัดพาหะนำโรคไม่ว่าจะเป็นการทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง
การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ หรือการพ่นหมอกควัน ปรับปรุงสภาพแวดล้อม และป้องกันไม่ให้ยุงกัด จึงจำเป็นต้องมีการเริ่มดำเนินการ ให้รวดเร็ว ให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคซึ่งการควบคุมโรคนั้นจำเป็นจะต้องทำอย่างต่อเนื่องและอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ และประชาชนจึงจะควบคุมโรคได้
    ดังนั้น ชมรม อสม. ตำบลควนกาหลง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
ตำบลควนกาหลง ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อเร่งรัดดำเนินการมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดอกและควบคุมการแพร่ระบาดของ โรคไข้เลือดออกให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลควนกาหลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออก 2 เพื่อสร้างความร่วมมือ ร่วมใจของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 3 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคไข้เลือดออก

1.ผู้นำชุมชนและประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 90 2.ชุมชนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนและลดการแพร่ระบาดในชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตตำบลควนกาหลง
  2. ชุมชนมีร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. ผู้นำชุมชน และประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก
  4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2566 16:47 น.