กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้ก่อการดี ป้องกันเด็กจมน้ำ เด็กว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำได้ อบต.รือเสาะ ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2511-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะ
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 30,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซากีนา ดอเล๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจมน้ำก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เกิดการเสียชีวิตจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในช่วง10ปีที่ผ่านมา (2555-2564) ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำถึง 35,915 คน โดยในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีมากถึงร้อยละ 20.5 (7,374คน) โดยเด็กช่วงอายุ 5-9 ปี เป็นกลุ่มที่เสียชีวิตมากที่สุดที่ 2,867 คน และช่วงเดือน มี.ค. - พ.ค. เป็นช่วงที่เสียชีวิตมากที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 32.7 ของการจมน้ำเสียชีวิตตลอดทั้งปี โดยกรมควบคุมโรค เผยรายงาน ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการตกน้ำจมน้ำ 1 ม.ค. – 14 ก.ย. 2565พบกว่า 184 เหตุการณ์ "จมน้ำเสียชีวิต" 174 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เนื่องจากว่ายน้ำไม่เป็น ไม่มีทักษะการเอาชีวิตรอด ทั้งนี้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการชวนกันไปเล่นน้ำตามลำพังที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติไม่มีผู้ใหญ่ดูแล ซึ่งการป้องกันนั้นทั้งผู้ปกครองและคนในชุมชนต้องร่วมกันสอดส่อง ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด จัดการแหล่งน้ำเพื่อให้เกิดความปลอดภัย จากสถานการณ์ที่ผ่านมาในแต่ละปีในเขตพื้นที่ตำบลรือเสาะ มีเด็กได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำและจมน้ำเสียชีวิต เพราะในพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งน้ำ ที่เด็กสามารถเล่นน้ำได้ โดยผู้ปกครองอาจจะไม่ทราบและไม่ตระหนักถึงสาเหตุการเสียชีวิตของบุตรหลาน จากการจมน้ำ หากเด็กตระหนักรู้ถึงอันตรายของการเล่นน้ำ และการช่วยเหลือตนเอง หรือช่วยเหลือเพื่อนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง นอกจากนี้อาสาสมัครในชุมชน ก็เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่จะเป็นผู้ที่สามารถช่วยเหลือเด็กที่เกิดอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำ และนำส่ง โรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันท่วงที ซึ่งจะทำให้ลดอัตราการตายจากการจมน้ำได้ งานสาธารณสุข สำนักปลัด อบต.รือเสาะ เล็งเห็นถึงความจำเป็น จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการจมน้ำและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางน้ำ

ลดอัตราการเสียชีวิตในเด็กจากอุบัติเหตุทางน้ำ ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้การช่วยเหลือคนจมน้ำและปฐมพยาบาลคนจมน้ำเบื้องต้นได้

เด็กนักเรียนสามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นจากการจมน้ำและปฐมพยาบาลคนจมน้ำเบื้องต้นได้ ร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีทักษะในการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ

เด็กนักเรียนสามารถเอาตัวรอดจากการจมน้ำได้ ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,560.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 การบรรยายให้ความรู้การเอาชีวิตรอดจากการประสบเหตุทางน้ำ 0 20,360.00 -
1 พ.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 ฝึกปฏิบัติทักษะการเอาชีวิตรอดจาการจมน้ำ 0 10,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กนักเรียนในตำบลรือเสาะมีความรู้และทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการประสบเหตุทางน้ำได้ 2.เด็กนักเรียนรู้จักวิธีการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุทางน้ำได้อย่างถูกต้องวิธีมาตรฐานสากล 3.ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำอย่างปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2566 00:00 น.