กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านสุขาภิบาลสำหรับสถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 67 - L3360- 1 -13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลร่มเมือง (ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข)
วันที่อนุมัติ 26 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เทศบาลตำบลร่มเมือง(ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุขเทศบาลตำบลร่มเมือง)
พี่เลี้ยงโครงการ ฝ่ายบริหารงานสาธา่รณสุขเทศบาลตำบลร่มเมือง(นายชัยวัฒน์ อุสหกรรม หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข)
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2560 เป็นกฎหมายที่กระจาย อำนาจให้ราชการส่วนท้องถิ่นในการควบคุมดูแลเพื่อ คุ้มครองประชาชนด้านสุขลักษณะและอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการและการกระทำทุกอย่างที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตั้งแต่ระดับชาวบ้านครัวเรือน ชุมชน ตลอดจนกิจการทั้งขนาดเล็กและขนาด ใหญ่เช่น หาบเร่ แผงลอย สถานที่จำหน่ายอาหารสถานที่สะสมอาหาร ตลาดสด และกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทต่าง ๆ โดยให้อำนาจในการออกข้อบัญญัติของราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อควบคุมและบังคับใช้ภายในท้องถิ่นนั้นๆได้ด้วยการอนุญาตหรือไม่อนุญาต การออกคำสั่ง ให้ปรับปรุงแก้ไข ให้หยุดกิจการ การสั่งพัก ใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่ง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นเรื่องที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๗ ว่าหมายถึง“กิจการที่มีกระบวนการผลิตหรือกรรมวิธีการผลิตที่ก่อให้เกิดมลพิษหรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในบริเวณข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นมลพิษ ทางอากาศ ทางน้ำ ดิน แสง เสียงความร้อน ความสั่นสะเทือน รังสี ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า ฯลฯ” ซึ่งจะต้องมีการ ควบคุม กำกับดูแลการประกอบกิจการ โดยผู้ประกอบการต้องขออนุญาตก่อน เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ในการควบคุมผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และประชาชนผู้ประกอบอาชีพเข้าข่ายกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เทศบาลมีภารกิจในการตรวจสอบและสนับสนุนให้สถานประกอบการนั้นๆ ปรับปรุงสถานประกอบการให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันอันตรายหรือมลพิษ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน การควบคุมดูแลการประกอบกิจการในเขตท้องถิ่น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงเป็นภารกิจหนึ่ง ที่ราชการส่วนท้องถิ่น จำเป็นต้องดำเนินการในการควบคุมการประกอบกิจการประเภทต่างๆ ของราชการ ส่วนท้องถิ่น จำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2560 เป็นสำคัญ ส่วนพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ.2535
ปัจจุบัน มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ 5/2538 เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 1๓๒ ตอนพิเศษ ๑๖๕ง ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม 25๕๘ ประกอบด้วย กิจการประเภทต่างๆ รวม 1๔๑ ประเภท ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีจำนวนของประเภทกิจการเพิ่มขึ้นจากเดิมนอกจากจำนวนประเภทของกิจการมีจำนวนเพิ่มขึ้นแล้ว ปัญหาปัจจัยเสี่ยงหรือมลพิษที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยพิจารณาจากปัญหาเหตุรำคาญ หรือข้อร้องเรียนจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ปัญหา ปัจจัยเสี่ยงหรือมลพิษดังกล่าว หากผู้ประกอบการให้ความสำคัญ โดยการปฏิบัติงานตามมาตรการหรือมาตรฐานที่ กำหนดนั้น คาดว่าจะส่งผลกระทบลดลง รวมทั้งเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข ต้องมีส่วนในการ กระตุ้นเตือนให้การสนับสนุน การปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานควบคุมกิจการที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพให้เกิดผลได้เป็นอย่างดี ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข ในฐานะผู้รับผิดชอบจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพด้านสุขาภิบาลสำหรับสถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อเผยแพร่ความรู้และวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องแก่ผู้เข้าร่วมอบรมและนำความรู้ วิธีการปฏิบัติปฏิบัติ รวมถึงการจัดการด้านสถานที่และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการได้เป็นอย่างดี เพื่อให้สถานประกอบการทุกแห่งสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกหลักสุขาภิบาล จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 65 25,000.00 1 23,000.00
1 พ.ย. 66 - 31 ส.ค. 67 1. วิเคราะห์ และวางแผนสถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 0 2,000.00 -
1 พ.ย. 66 - 31 ส.ค. 67 2.จัดอบรมพัฒนาศักยภาพและสรุปผลด้านสุขาภิบาลสถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 65 23,000.00 23,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการเข้ารับการอบรมด้านสุขาภิบาลสำหรับสถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสำหรับสถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตอบคำถามถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2566 00:00 น.