กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศในเยาวชนมุสลิม
รหัสโครงการ 67-L2492-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2567
งบประมาณ 103,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยุสรี เจะนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 86 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในทัศนะของอิสลามนั้นถือเป็นการเอาใจใส่ดูแลสุขอนามัยและการทำให้สะอาดบริสุทธิ์ สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค การขลิบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมชายทุกคน เนื่องจากเป็นสิ่งปฏิบัติที่สืบทอดมาจากท่านนบีมุฮัมมัด (ซล.) และการขลิบนั้นมีหลักฐานในอัลกรุอาน ที่แสดงให้เห็นว่ามีมายาวนานตั้งแต่สมัย นบีอิบรอฮีม ในยุคโบราณ มีการกระทำห้าสิ่งที่ใกล้เคียงกับฟิตเราะฮ์ (ธรรมชาติที่บริสุทธ์) นั่นคือ การขลิบหนังปลายอวัยวะเพศชาย การโกนขนในร่มผ้า การตัดเล็บ การถอนขนรักแร้และการขลิบหนวด     จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าบริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของผู้ชาย เป็นจุดรวมของเชื้อโรคเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง จึงมักจะเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ มากมาย เช่น กามโรค การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและภาวะหนังหุ้มปลายตีบแน่น ซึ่งก็เป็นอันตรายไม่น้อย ดังสถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในประเทศไทย ในภาพรวมประเทศ พ.ศ. 2560 - 2565 จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังโรค รง.506 สํานักระบาดวิทยา พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5 โรค (ได้แก่โรคหนองใน โรคหนองในเทียม โรคซิฟิลิส โรคแผลริมอ่อน โรคกามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามลําดับ 51.35, 57.37 และ 72.42 ต่อประชากรแสนคน และพบว่าในแต่ละปีแนวโน้มพบผู้ป่วยอายุน้อยลงเรื่อยๆ ถือเป็นตัวสะท้อนที่แสดงให้เห็นถึงการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้นทางการแพทย์จึงสนับสนุนให้มีการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของผู้ชายตั้งแต่วัยเด็ก เพราะจะทำให้สามารถดูแลและทำความสะอาดอวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น สะอาดมากขึ้นและลดโอกาสการเป็นโรคร้ายได้สูงมากทีเดียว ดังเช่นการศึกษาวิจัยยืนยันของนักวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่าการขลิบอวัยวะเพศชายจะช่วยลดการติดเชื้อไวรัส HIV ได้ 60 เปอร์เซ็นต์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อจากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

อุบัติการณ์การติดเชื้อ ร้อยละ 0

0.00
2 เพื่อลดภาวะเลือดออกมากจากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

อุบัติการณ์ภาวะเลือดออกมาก ร้อยละ 0

0.00
3 เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค

กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักมากขึ้น มีการดูแลสุขภาพ และสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 103,950.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์) 0 750.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ 0 103,200.00 -
  1. ให้การแนะนำในการดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชน รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค
  2. กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) โดยบุคลากรทางการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ
  3. สังเกตอาการหลังขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศก่อนกลับบ้าน และติดตามประเมินอาการที่บ้านหลังขลิบ หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศแล้ว 1 สัปดาห์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดความเสี่ยงจากภาวะเลือดออกมาก
  2. สามารถป้องกันการอักเสบรุนแรงและการติดเชื้อ
  3. เยาวชนและผู้ปกครองมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2566 10:23 น.