กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อ่าวตง


“ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษา ”

ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางเพ็ญศรี เลี่ยนกัตวา

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษา

ที่อยู่ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 67-L1520-01-04 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 18 ตุลาคม 2566 ถึง 10 กันยายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษา จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อ่าวตง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษา



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษา " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 67-L1520-01-04 ระยะเวลาการดำเนินงาน 18 ตุลาคม 2566 - 10 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 35,405.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อ่าวตง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต การพัฒนาเด็กให้ได้รับความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ สังคม และสติปัญญา จึงนับเป็นภารกิจสำคัญ ที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจะตองตระหนักและให้ความสนใจ การนำเด็กไปโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ทำให้เด็กเจ็บป่วยได้ง่าย เพราะเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งพฤติกรรมเด็กที่อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากในโรงเรียน ส่งผลต่อการแพร่กระจายโรคได้ง่าย เช่น การเล่น การคลุกคลีใช้ของร่วมกัน ทำให้ปนเปื้อนและแพร่กระจายเชื้อโรคติดต่อสู่กันได้ง่าย หากเด็กเจ็บป่วยก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็ก รวมทั้งการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก โดยสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ได้จัดทำแนวทางการดำเนินงานศึกษาปลอดโรคติดต่อ ซึ่งโรคติดต่อที่พบบ่อยในสถานศึกษา ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus) และโรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)
สถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 10 ตุลาคม 2566 มีรายงานผู้ป่วย 248,322 ราย อัตราป่วย 375.50 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 8 ราย พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 5 – 14 ปี จำนวน 22,752 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 0 - 4 ปี จำนวน 39,851 ราย สำหรับภาคใต้ พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 23,014 ราย พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 5 – 14 ปี จำนวน 8,532 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 0 - 4 ปี จำนวน 5,167 ราย สำหรับจังหวัดตรัง พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ จำนวน 1,254 ราย อัตราป่วย 196.81 ต่อแสนประชากร (กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2566)
สำหรับตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 28 กันยายน 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 53 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 493.99 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 0 - 4 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 20 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 5 - 9 ปี
สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม –2 กันยายน 2566 พบผู้ป่วยติดเชื้อ RSV 270 ราย จากจำนวนตัวอย่างส่งตรวจ 5,110 ราย
(ร้อยละ 5.28) โดยตรวจพบเชื้อมากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี 118 ราย (ร้อยละ 43.70) รองลงมา คือ อายุ 2 – 5 ปี 117 ราย (ร้อยละ 43.33) และอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป 35 ราย (ร้อยละ 12.96)
มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ข้อมูลจากการเฝ้าระวังพบว่าเชื้อ RSV มักจะเป็นสาเหตุของการเกิดปอดอักเสบรุนแรงในเด็กและผู้สูงอายุ สำหรับประเทศไทยมักพบเชื้อไวรัส RSV ได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับฤดูกาลระบาดของไข้หวัดใหญ่ สถานการณ์ของโรคมือ เท้า ปาก ตั้งแต่ 1 มกราคม – 1 ตุลาคม 2566 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 21,192 ราย อัตราป่วย 705.92 ต่อแสนประชากร ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มที่พบมากที่สุดคือ 0 – 2 ปี (ร้อยละ 45.67) อายุ 3 – 5 ปี (ร้อยละ 45.98) และมากกว่า 5 ปี (ร้อยละ 8.35) จากรายงานผู้ป่วยย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565) พบผู้ป่วยมือ เท้า ปาก ตลอดทั้งปี พบผู้ป่วยมากขึ้นในช่วงเปิดภาคเรียนของสถานศึกษา เนื่องจากเด็กเข้ามาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว (กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2566) สำหรับตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 28 กันยายน 2566 พบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวนทั้งสิ้น 18 ราย
คิดเป็นอัตราป่วย 167.77 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 0 - 4 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 14 ราย รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5 - 9 ปี จากสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากมีภูมิต้านทานของโรคต่ำส่งผลให้เด็กติดเชื้อต่างๆได้ง่าย การเจ็บป่วยในเด็กอาจส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มป่วยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อผู้ปกครองที่ต้องหยุดงานเพื่อดูแลเด็กทำให้ขาดรายได้และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ดังนั้น การป้องกันควบคุมโรค ที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการลดและแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่พบได้บ่อย ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเด็กเล็ก องค์การบริการส่วนตำบลอ่าวตงจึงได้จัดโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในถสานศึกษาในพื้นที่ตำบลอ่าวตงขึ้น เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นแก่เด็ก ผู้ปกครอง ครูผู้สอน และครูผู้แลเด็ก

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี และโรคมือ เท้า ปาก สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
  2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถล้างมือ อย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. บรรยายความรู้และส่งมอบสื่อประชาสัมพันธ์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี และโรคมือ เท้า ปาก ที่อาจเกิดขึ้นในสถานศึกษา


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี และโรคมือ เท้า ปาก สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี และโรคมือ เท้า ปาก

 

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถล้างมือ อย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 สามารถล้างมืออย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอนได้

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี และโรคมือ เท้า ปาก สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง (2) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถล้างมือ อย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) บรรยายความรู้และส่งมอบสื่อประชาสัมพันธ์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษา จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 67-L1520-01-04

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางเพ็ญศรี เลี่ยนกัตวา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด