กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L8008-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน
วันที่อนุมัติ 15 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 ธันวาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 62,330.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกาญจนา เกปัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ม.ค. 2567 31 ส.ค. 2567 62,330.00
รวมงบประมาณ 62,330.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ จำนวน 21 ราย (ร้อยละ)
86.96
2 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ 19ราย (ร้อยละ)
86.96
3 มารดาและทารกทั้งหมด 25 ราย ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้ง23 ราย (ร้อยละ)
100.00
4 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก
100.00
5 ร้อยละเด็กเด็กแรกเกิด - 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว
58.62
6 ร้อยละความคลอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 0- 5 ปี
95.00
7 ร้อยละเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพฟัน
65.00
8 ร้อยละ เด็ก 0-5ปีสูงดีสมส่วน
64.40
9 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี มีน้ำหนักน้อย
7.44
10 ร้อยละ เด็กอ่ยุ 0-5 ปี มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์
4.92
11 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
93.73
12 ร้อยละเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการได้รับการกระตุ้นภายใน 30 วัน
66.07

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถาบันครอบครัวเป็นเริ่มแรกของการดูแลมนุษย์แบบบูรณาการบุคคลจะมีสุขภาพแบบองค์ทั้งกาย จิตวิญญาณญาติที่ดีได้เริ่มจากการดูแลเอาใจใส่ของบุคคลในครอบครัวและสังคมการดูแลควรเริ่มจากการวางแผนครอบครัว การมีบุตรเมื่อพร้อม การดูแลครรภ์ตั้งแต่ เริ่มตั้งครรภ์ (ก่อน 12 สัปดาห์ ของอายุครรภ์) การดำเนินการตั้งครรภ์ที่ดี มีโภชนาการและพัฒนาการของทารกในครรภ์ที่ดี การคลอดที่ปลอดภัยและการเลี้ยงลูกหลังคลอดด้วยนมแม่เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็ก โดยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอ พร้อมสร้างความรักความอบอุ่น และพัฒนาสมองของลูกตั้งแต่แรกเกิดลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นตั้งแต่แรกเริ่มของการมีชีวิตด้วยการได้กินนมแม่และการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อครั้งแรกในห้องคลอด สายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้แม่ไม่ทอดทิ้งลูก เลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย และเติบโตเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน ตำบลพิมาน ปีงบประมาณ 2566 พบอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์21 ราย ร้อยละ 86.96 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ 19ราย ร้อยละ 86.96มารดาและทารกทั้งหมด 25 ราย ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้ง23 ราย ร้อยละ 100 หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก ร้อยละ 100 เด็กเด็กแรกเกิด - 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ร้อยละ 58.62 ความคลอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 0- 5 ปี ร้อยละ 95% เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพฟัน ร้อยละ 65 เด็ก 0-5ปีสูงดี สมส่วน ร้อยละ 64.4 มีน้ำหนักน้อย ร้อยละ 7.44 น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ 4.92พัฒนาการสมวัย ร้อยละ 93.73 และพัฒนาการได้รับการกระตุ้นภายใน 30 วัน ร้อยละ 66.07 ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนพิมานได้จัดทำโครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก ขึ้นเพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน แม้ว่าสถิติผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2566 ผ่านเกณฑ์ แต่บางตัวชี้วัดของงานอนามัยแม่และเด็ก ยังไม่ผ่านเกณฑ์ และหลังจากสถานการณ์การติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่ผ่านมา จึงควรมีการทบทวนการดำเนินงานและเพิ่มพัฒนาทักษะความรู้ การสาธิต และการนำไปปฏิบัติในชุมชนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและแก่ประชาชนในชุมชน จึงนำมาซึ่งการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะ ในการป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเองได้

หลังเข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 90

144.00 103.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และการเยี่ยมหลัง คลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

120.00 90.00
3 เพื่อส่งเสริมให้มารดาหลังคลอด รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและพัฒนาการที่สมวัยตามเกณฑ์

มากกว่าร้อยละ 95

152.00 145.00
4 เด็กแรกเกิด-ถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว มากกว่าร้อยละ 50

มากกว่าร้อยละ 50

60.00 30.00
5 การตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี และการติดตามพัฒนาการ ได้รับการกระตุ้น ภายใน 30 วัน ร้อยละ 10

มากกว่า ร้อยละ 95 และพัฒนาการ ได้รับการกระตุ้น ภายใน 30 วัน ร้อยละ 10

59.00 0.00
6 เด็ก 0-5ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 60

ร้อยละ 60

38.00 0.00
7 เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพฟันและฟันดีไม่มีผุ ร้อยละ 80

ตรวจสุขภาพฟันและฟันดีไม่มีผุ ร้อยละ 80

50.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 62,330.00 0 0.00
1 - 31 ต.ค. 66 การสำรวจข้อมูลสุขภาพ ทบทวนปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ 0 0.00 -
1 พ.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 การประเมินติดตามผลการดำเนินงาน 0 500.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 พ.ค. 67 อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด ในพื้นที่รับผิดชอบ 0 10,640.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 พ.ค. 67 อบรมให้ความรู้ มารดาหลังคลอดและผู้ดูแลเด็กอายุ 0-5 ปี (เช้า-บ่าย) 0 51,190.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ ความเข้าใจในการดูแตนเองในการเตรียมพร้อมก่อน และหลังการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ สามารถให้คำแนะนำแก่ประชนชนในชุมชนได้ 2.เกิดแกนนำ อาสาสมัครสาธารณสุขแต่ละชุมชนในการขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็ก 3.กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจหลังการเข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 90

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2566 10:34 น.