กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน

นางกาญนา เกปัน 0640461222
นางสาวนภรัตน์ บุญทิพย์ 0892975335
นางสาวพัฒนาวดี หลีนิ่ง
นางสาวอภิชญา หิมมา

10 ชุมชน ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัด สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ จำนวน 21 ราย (ร้อยละ)

 

86.96
2 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ 19ราย (ร้อยละ)

 

86.96
3 มารดาและทารกทั้งหมด 25 ราย ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้ง23 ราย (ร้อยละ)

 

100.00
4 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก

 

100.00
5 ร้อยละเด็กเด็กแรกเกิด - 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว

 

58.62
6 ร้อยละความคลอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 0- 5 ปี

 

95.00
7 ร้อยละเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพฟัน

 

65.00
8 ร้อยละ เด็ก 0-5ปีสูงดีสมส่วน

 

64.40
9 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี มีน้ำหนักน้อย

 

7.44
10 ร้อยละ เด็กอ่ยุ 0-5 ปี มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์

 

4.92
11 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

 

93.73
12 ร้อยละเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการได้รับการกระตุ้นภายใน 30 วัน

 

66.07

สถาบันครอบครัวเป็นเริ่มแรกของการดูแลมนุษย์แบบบูรณาการบุคคลจะมีสุขภาพแบบองค์ทั้งกาย จิตวิญญาณญาติที่ดีได้เริ่มจากการดูแลเอาใจใส่ของบุคคลในครอบครัวและสังคมการดูแลควรเริ่มจากการวางแผนครอบครัว การมีบุตรเมื่อพร้อม การดูแลครรภ์ตั้งแต่ เริ่มตั้งครรภ์ (ก่อน 12 สัปดาห์ ของอายุครรภ์) การดำเนินการตั้งครรภ์ที่ดี มีโภชนาการและพัฒนาการของทารกในครรภ์ที่ดี การคลอดที่ปลอดภัยและการเลี้ยงลูกหลังคลอดด้วยนมแม่เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็ก โดยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอ พร้อมสร้างความรักความอบอุ่น และพัฒนาสมองของลูกตั้งแต่แรกเกิดลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นตั้งแต่แรกเริ่มของการมีชีวิตด้วยการได้กินนมแม่และการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อครั้งแรกในห้องคลอด สายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้แม่ไม่ทอดทิ้งลูก เลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย และเติบโตเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต
สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน ตำบลพิมาน ปีงบประมาณ 2566 พบอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์21 ราย ร้อยละ 86.96 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ 19ราย ร้อยละ 86.96มารดาและทารกทั้งหมด 25 ราย ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้ง23 ราย ร้อยละ 100 หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก ร้อยละ 100 เด็กเด็กแรกเกิด - 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ร้อยละ 58.62 ความคลอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 0- 5 ปี ร้อยละ 95% เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพฟัน ร้อยละ 65 เด็ก 0-5ปีสูงดี สมส่วน ร้อยละ 64.4 มีน้ำหนักน้อย ร้อยละ 7.44 น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ 4.92พัฒนาการสมวัย ร้อยละ 93.73 และพัฒนาการได้รับการกระตุ้นภายใน 30 วัน ร้อยละ 66.07
ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนพิมานได้จัดทำโครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก ขึ้นเพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน แม้ว่าสถิติผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2566 ผ่านเกณฑ์ แต่บางตัวชี้วัดของงานอนามัยแม่และเด็ก ยังไม่ผ่านเกณฑ์ และหลังจากสถานการณ์การติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่ผ่านมา จึงควรมีการทบทวนการดำเนินงานและเพิ่มพัฒนาทักษะความรู้ การสาธิต และการนำไปปฏิบัติในชุมชนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและแก่ประชาชนในชุมชน จึงนำมาซึ่งการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะ ในการป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเองได้

หลังเข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 90

144.00 103.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และการเยี่ยมหลัง คลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

120.00 90.00
3 เพื่อส่งเสริมให้มารดาหลังคลอด รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและพัฒนาการที่สมวัยตามเกณฑ์

มากกว่าร้อยละ 95

152.00 145.00
4 เด็กแรกเกิด-ถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว มากกว่าร้อยละ 50

มากกว่าร้อยละ 50

60.00 30.00
5 การตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี และการติดตามพัฒนาการ ได้รับการกระตุ้น ภายใน 30 วัน ร้อยละ 10

มากกว่า ร้อยละ 95 และพัฒนาการ ได้รับการกระตุ้น ภายใน 30 วัน ร้อยละ 10

59.00 0.00
6 เด็ก 0-5ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 60

ร้อยละ 60

38.00 0.00
7 เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพฟันและฟันดีไม่มีผุ ร้อยละ 80

ตรวจสุขภาพฟันและฟันดีไม่มีผุ ร้อยละ 80

50.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/12/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสำรวจข้อมูลสุขภาพ ทบทวนปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
การสำรวจข้อมูลสุขภาพ ทบทวนปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การสำรวจข้อมูลสุขภาพ ทบทวนปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กร่วมกับสหวิชาชีพ
  2. เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงาน และติดต่อประสานงานกับเทศบาลเมืองสตูล อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
  3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย
  4. จัดเตรียมสถานที่ จัดทำแบบประเมินความรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้กลุ่มเป้าหมายที่จะร่วมกิจกรรม จำนวน ุ60 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด ในพื้นที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด ในพื้นที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ุ (เช้า)
1.จัดอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์/การเตรียมพร้อมในการฝากครรภ์/วัยรุ่น
2.การวางแผนการคุมกำเนิด ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ (บ่าย)
1.บทบาทพ่อแม่ การใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
2.การปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์ และอาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์
3.ทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์
4.การเตรียมนมแม่ ตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงเด็ก 0-6 เดือน
งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 70 บาท x30 คน x 1 มื้อเป็นเงิน 2,100 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 30บาท x 30 คนเป็นเงิน 1,800 บาท
3.ค่ากระเป๋าพลาสติก ผู้เข้าอบรม 30 ใบ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ ชุดเครื่องเขียน 1,090 บาท
( ค่ากระดาษ A 4 ดรีมละ 115 บาท 2ดรีม = 230 บาท,กระดาษซาลาเปา10ชิ้น50 บาท ,ปากกา หมึกเคมีเล่มละ 15 * 4 เล่ม = 60 บาท ,ปากกาลูกลื่น 1 กระป๋อง 200 บาท , กระดาษโพสอิส 2 Pack ๆละ 35 = 70บาท , สก๊อตเทป 1 ม้วน 30 บาท ,สมุดปกอ่อน ราคา 1530 เล่ม= 450 บาท )
5.ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 เมตร * 2 เมตรตร.ม.ละ 150 บาท จำนวน 2 ป้ายเป็นเงิน 550 บาท
- ป้ายไวนิล โครงการส่งเสริมสุขภาพ อนามัยแม่และเด็กปีงบประมาณ 2567 ขนาด 1
2เมตร 1 ป้ายเป็นเงิน 300 บาท
-โฟมบอร์ด ฝากท้องก่อน 12 สัปดาห์ ฝากครบ 8 ครั้ง ตามเกณฑ์ เพื่อรับการประเมินตามมาตรฐานบริการฝากครรภ์ คุณภาพ โครงการ 2500 วัน ขนาด 59*72 ซม. จำนวน1ป้าย เป็นเงิน 250 บาท
6.ค่าวิทยากร บรรยาย 3 ชั่วโมง ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
7.ค่าวิทยากรกระบวนการ จำนวน 3 คน จัดกิจกรรมกลุ่ม คนละ 3 ชั่วโมง ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
08.00– 09.00 น.ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน-เปิดงานการอบรมเชิงปฏิบัติการ
09.00– 10.00 น.บรรยาย : ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์
10.00 - 12.00 น.บรรยาย : การเตรียมพร้อมในการฝากครรภ์,การปฏิบัติตนของมารดาวัยรุ่น/ การวางแผนการคุมกำเนิด/ยาเม็ดเสริม ไอโอดีนธาตุเหล็ก และ กรดโฟลิก
วิทยากร : นางสาวขวัญเรือน สุดใหม่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
12.00– 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00– 1ุ6.00 น. บรรยาย (ต่อ) และจัดกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1การใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก,การปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์ และอาการผิดปกติที่เฝ้าระวังตลอดจนภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ วิทยากร : นางสาวขวัญเรือน สุดใหม่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
กลุ่มที่ 2ทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์ โดยนายอัสรัณย์ เบ็ญญคุปต์ เจ้าพนักงานทัตสาธารณสุขชำนาญงาน
กลุ่มที่ 3 การเตรียมนมแม่ ตั้งแต่ ก่อนคลอด และ ทารก 0-6 เดือน โดย นางสุภานี อาจบำรุง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
16.00 น ปิดการอบรม
หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 - 10.15 นและเวลา 14.30 -14.45

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ุและกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เข้าร่วมอบรมตามที่กำหนดไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10640.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ มารดาหลังคลอดและผู้ดูแลเด็กอายุ 0-5 ปี (เช้า-บ่าย)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ มารดาหลังคลอดและผู้ดูแลเด็กอายุ 0-5 ปี (เช้า-บ่าย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มารดาหลังคลอดและผู้ดูแลเด็กอายุ 0-5 ปี (เช้า-บ่าย)
1.จัดอบรมให้ความรู้/สาธิต ส่งเสริมทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2.การส่งเสริม ด้านวัคซีนพัฒนาการสุขภาพช่องปาก โภชนาการที่เหมาะสมตามวันการอ่านกราฟโภชนาการ
3.การให้ความรู้ การปฏิบัติตน ของมารดาหลังคลอดบุตร
4.การคัดกรองภาวะซีดในเด็ก ในสถานบริการ และเมื่อพบภาวะซีดในเด็ก อายุ 6 เดือน -5 ปี ติดตามโดยอสม.
5.จัดหาเครื่องมือเจาะ HCT
งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม มื้อละ 70 บาท x30 คน x 1 มื้อเป็นเงิน 2,100 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 30 บาท x 30 คนเป็นเงิน1,800 บาท
3.ค่ากระเป๋าพลาสติกผู้เข้าอบรม 30 ใบ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ ชุดเครื่องเขียน1,090 บาท
( ค่ากระดาษ A 4 ดรีมละ 115 บาท 2ดรีม = 230 บาท,กระดาษซาลาเปา10ชิ้น50 บาท ,ปากกา หมึกเคมีเล่มละ 15 * 4 เล่ม = 60 บาท ,ปากกาลูกลื่น 1 กระป๋อง 200 บาท , กระดาษโพสอิส 2 Pack ๆละ 35 = 70บาท , สก๊อตเทป 1 ม้วน 30 บาท ,สมุดปกอ่อน ราคา 1530 เล่ม= 450 บาท )
5.ค่าป้ายโฟมบอร์ด 2 โฟม ขนาด 59
72 ซม ป้ายละ 250 บาท จำนวน 2 ป้าย เป็นเงิน500 บาท
( เรื่อง บันได 10 ขั้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และโภชนาการเด็ก สูงดี สมส่วน )
6.ค่าวิทยากร บรรยาย 2 ชั่วโมง x 300 บาท เป็นเงิน600 บาท
7.ค่าตอบแทนวิทยากรกระบวนการภาคเช้า จำนวน 3 คน ๆละ 4 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
8.ค่าเครื่องเจาะ Hct 1 เครื่อง 35,000 บาท แผ่นตรวจ ชิ้นละ 25 บาท ( 200 ชิ้น/ กล่อง ) รวมเป็นเงิน 40,000 บาท

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
08.00– 09.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน
09.00– 11.00 น. บรรยายความรู้และฝึกปฏิบัติ โดยเจ้าหน้าที่ PCU
11.00 - 12.00 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ
กลุ่มที่ 1 การปฏิบัติตนของมารดาหลังคลอดบุตร ,การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิทยากร : นางสาวขวัญเรือน สุดใหม่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
กลุ่มที่ 2 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อายุ 0-6 เดือนโดยนางสุภานี อาจบำรุง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
กลุ่มที่ 3 ภาวะโชนาการ การอ่านกราฟโภชนาการ ที่เหมาะสมตามวัย โดยนางนูรฉาม มาลินี นักโภชนาการชำนาญการ
12.00– 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00– 16.00 น. บรรยายความรู้และจัดกิจกรรมกลุ่ม ลงสู่การปฏิบัติ กลุ่มละ 10 คน 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่1 การส่งเสริมด้านวัคซีน พัฒนาการ สมวัย วิทยากร นางอาทิตยาปูหยังนักพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
กลุ่มที่2 สุขภาพช่องปาก โดยวิทยากร นายอัสรัณย์ เบญญคุปต์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ชำนาญงาน
กลุ่มที่3 ภาวะซีดกับการเจริญเติบโต วิทยากร : นางสาวธัญพร สมันตรัฐ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
16.00– 16.30 น.ถอดบทเรียน
หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 - 10.15 นและเวลา 14.30 -14.45 น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มมารดาหลังคลอดและผู้ดูแลเด็กอายุ 0-5 ปี เข้าร่วมอบรมตามที่กำหนดไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51190.00

กิจกรรมที่ 4 การประเมินติดตามผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
การประเมินติดตามผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผลการดำเนินงานทุก 3 เดือน
สรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 62,330.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ ความเข้าใจในการดูแตนเองในการเตรียมพร้อมก่อน และหลังการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ สามารถให้คำแนะนำแก่ประชนชนในชุมชนได้
2.เกิดแกนนำ อาสาสมัครสาธารณสุขแต่ละชุมชนในการขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็ก
3.กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจหลังการเข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 90


>