กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล


“ โครงการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพประชาชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงเทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล ปีงบประมาณ 2567 ”

ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสาวรุสนา คชฤทธิ์

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพประชาชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงเทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล ปีงบประมาณ 2567

ที่อยู่ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 67-L8008-01-04 เลขที่ข้อตกลง 3/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพประชาชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงเทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล ปีงบประมาณ 2567 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพประชาชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงเทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล ปีงบประมาณ 2567



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพประชาชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงเทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล ปีงบประมาณ 2567 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 67-L8008-01-04 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 ธันวาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 20,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 10 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ตามที่ เทศบาลเมืองสตูล ได้ตราเทศบัญญัติและออกระเบียบในเรื่องต่างๆ ตามอำนาจ หน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อบังคับใช้ในเขตพื้นที่ แต่เนื่องด้วยปัจจุบันสถานการณ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และประกาศกระทรวง ได้มีการปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ ทำให้เทศบัญญัติที่ตราขึ้นและระเบียบที่ออกไว้นั้น ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และทำให้ไม่สามารถเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพของประชาชนในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้อย่างครอบคลุม นั้น
เทศบาลเมืองสตูล จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเทศบัญญัติและระเบียบของเทศบาลเมืองสตูล ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และประกาศกระทรวงที่มีการปรับปรุงแก้ไข โดยจะมีการปรับปรุงเทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล เพื่อเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเพื่อให้สามารถเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพของประชาชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ได้อย่างครอบคลุม ดังนี้ 1. เทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป เนื่องจากเทศบาลเมืองสตูล มีศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองสตูล ตั้งอยู่บริเวณ หมู่ที่ 5 บ้านกาลันยีตัน ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งมีวิธีการกำจัดมูลฝอยโดยวิธีฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล ( Sanitary landfill ) และมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งหมด 18 แห่ง ร่วมทำ MOU เพื่อร่วมใช้สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยดังกล่าว และเนื่องจากในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสตูล เป็นพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีประชากรที่หนาแน่น ทำให้มีขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ประชาชนยังให้ความสำคัญในเรื่องการคัดแยกขยะมูลฝอยน้อย รวมทั้งเทศบัญญัติของเทศบาลเมืองสตูล เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ที่คับใช้ในปัจจุบันได้ตราขึ้น ในปี พ.ศ.2541 ทำให้ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และข้อกฎหมายต่างๆ จึงทำให้ต้องมีการตราเทศบัญญัติฉบับนี้ขึ้นใหม่ เพื่อให้รองรับและสามารถบังคับใช้กฎหมายที่เป็นปัจจุบันได้ เพื่อให้สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการกำจัดขยะมูลฝอย กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ที่ร่วมทำ MOU ใช้สถานที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองสตูล สามารถบังคับใช้กฎหมายที่เป็นปัจจุบันกับประชาชนและผู้ประกอบกิจการต่างๆ ในเขตเทศบาล เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการ มีความตระหนัก และให้ความสำคัญในเรื่องการคัดแยกขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น รวมทั้งสามารถใช้ข้อกฎหมายในการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพของประชนในเรื่องขยะได้ 2. เทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ เนื่องจากในเขตเทศบาลเมืองสตูล ประกอบด้วยสถานที่ที่มีการให้บริการประชาชนในด้านการรักษาโรค สุขภาพ ของคนและสัตว์ อาทิเช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพ คลินิครักษาโรค คลินิครักษาฟัน คลินิครักษาสัตว์ เป็นต้น โดยสถานที่ให้บริการดังกล่าวจะทำให้เกิดมูลฝอยติดเชื้อขึ้น และถ้าไม่มีการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวที่ถูกต้องและเหมาะสม จะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของประชนได้นั้น ซึ่งในปัจจุบันเทศบาลเมืองสตูลยังไม่มีเทศบัญญัติ หรือข้อกฎหมาย ในการบังคับใช้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดจากการให้บริการ รักษาสุขภาพของคนและสัตว์ จึงทำให้ต้องมีการตราเทศบัญญัติเรื่องนี้ขึ้นใหม่ เพื่อให้รองรับและสามารถบังคับใช้กฎหมายในด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อได้ ทั้งด้านการขออนุญาต จัดเก็บค่าธรรมเนียมในการเก็น ขน และกำจัดขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นในเขตเทศบาลเมืองสตูลได้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพของประชนในด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดจากขยะติดเชื้อได้ 3. เทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสตูล มีการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนหลายกิจการ อาทิเช่น กิจการร้านเสริมสวย กิจการซ่อมรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ กิจการ กิจการจำหน่ายน้ำมัน เป็นต้น โดยข้อกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน คือประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2558 นั้น มีการเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งทำให้เทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล เรื่องการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2541 ที่ใช้อยู่ไม่สอดคล้องกับข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้ต้องมีการตราเทศบัญญัติฉบับนี้ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถบังคับใช้กฎหมายตามเทศบัญญัติ ในการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพของประชาชนได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตเทศบาลเมืองสตูลได้ครอบคลุมทุกประเภท
  2. เพื่อจัดระบบการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพ และคลินิคต่างๆ ได้อยางเป็นระบบ
  3. เพื่อใช้ข้อกฎหมายในการควบคุมและจัดระบบในการเก็บ ขน กำจัด มูลฝอยทั่วไป

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะทำงาน บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจง วางแผนในการการดำเนินการจัดทำโครงการ
  2. ประชุมคณะกรรมการยกร่างเทศบัญญัติ
  3. การอบรมให้ความรู้ และการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย
  4. พิจารณาร่างเทศบัญญัติ ขอความเห็นชอบต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และประกาศใช้เทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล
  5. ติดตามและประเมินผลโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
ผู้เข้าร่วมโครงการ (เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ ตัวแทนผ 120

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เทศบัญญัติและระเบียบของเทศบาลเมืองสตูล มีความถูกต้อง ครอบคลุม และเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
  2. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน สามารถนำเทศบัญญัติไปใช้ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผู้ประกอบการ ประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองสตูล ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้อย่างถูกต้อง
  4. เทศบาลเมืองสตูล สามารถเฝ้าระวังและคุ้มครองสุขภาพของประชาชน ภายใต้ข้อบัญญัติที่จัดทำขึ้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตเทศบาลเมืองสตูลได้ครอบคลุมทุกประเภท
ตัวชี้วัด : ประเภทกิจการที่ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 142 กิจการ
130.00 142.00

 

2 เพื่อจัดระบบการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพ และคลินิคต่างๆ ได้อยางเป็นระบบ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของผู้ประกอบการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อ อยู้ในระบบของเทศบาลเมืองสตูล
20.00 100.00

 

3 เพื่อใช้ข้อกฎหมายในการควบคุมและจัดระบบในการเก็บ ขน กำจัด มูลฝอยทั่วไป
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 สามารถใช้กฎหมายในการควบคุมและจัดระบบในการเก็บขนกำจัดมูลฝอยทั่วไป ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ผู้ประกอบกิจการต่างๆ และประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสตูล
50.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ผู้เข้าร่วมโครงการ (เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ ตัวแทนผ 120

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตเทศบาลเมืองสตูลได้ครอบคลุมทุกประเภท (2) เพื่อจัดระบบการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพ และคลินิคต่างๆ ได้อยางเป็นระบบ (3) เพื่อใช้ข้อกฎหมายในการควบคุมและจัดระบบในการเก็บ ขน กำจัด มูลฝอยทั่วไป

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะทำงาน บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจง วางแผนในการการดำเนินการจัดทำโครงการ (2) ประชุมคณะกรรมการยกร่างเทศบัญญัติ (3) การอบรมให้ความรู้ และการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย (4) พิจารณาร่างเทศบัญญัติ ขอความเห็นชอบต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และประกาศใช้เทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล (5) ติดตามและประเมินผลโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเฝ้าระวังคุ้มครองสุขภาพประชาชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงเทศบัญญัติเทศบาลเมืองสตูล ปีงบประมาณ 2567 จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 67-L8008-01-04

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวรุสนา คชฤทธิ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด