กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรคร้ายและโรคซึมเศร้า ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L6961-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแอโรบิคลานคนเดิน สนามกีฬามหาราช
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 15,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาจารีย์ สุวรรณรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคซึมเศร้าหมายถึงภาวะการเจ็บป่วยทางอารมณ์ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการสุญเสียผิดหวังการถูกทอดทิ้งและอาจสามารถเกิดขึ้นเองจากสังคมรอบข้างที่เลวร้ายเช่น การเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่เข้ามาอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะมีอาการหม่นหมอง หงุดหงิดง่าย ขาดความสนใจต่อสิ่งรอบข้าง น้ำหนักลดลงหรือมากขึ้นอย่างรวดเร็วอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง เป็นต้น ผลวิจัยส่วนใหญ่พบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเพศชาย แต่ทว่าอัตราการฆ่าตัวตายในเพศชายมีจำนวนมากกว่า ซึ่งเมื่อเพศชายเกิดอาการเครียดหรือซึมเศร้าขั้นรุนแรง พวกเขาจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิงอีกด้วย ช่วงปีที่ผ่านมาคนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ 6 คน หรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คนและเสียชีวิตราว 4,000 คน ถือเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของไทย
ข้อมูลของศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ยังระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน โดยผู้ป่วยจำนวน 100 คน สามารถเข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น และทำให้คนไทยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผู้ที่มีเกณฑ์เป็นโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการชัดเจนในช่วงอายุ 25 ปีหลังจากนั้นอาจเกิดเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจในระยะยาวได้ ฉะนั้นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรเข้ารับการรักษาและติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด วิธีการรักษาโรคซึมเศร้ามีหลายวิธี ทั้งวิธีรักษาทางจิตใจ หรือว่าการใช้ยารักษาเพื่อปรับสมดุลเคมีภายในสมอง อย่างไรก็ตามวิธีรักษาที่ดีที่สุดคือ การให้ผู้ป่วยปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม โดยเน้นไปที่สาเหตุและแรงกระตุ้นของปัญหานั้นๆเพื่อให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมแง่ลบที่มีต่อตนเอง ชมรมแอโรบิกลานคนเดิน สนามกีฬามหาราชได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ดังนั้น ทางชมรมแอโรบิกลานคนเดิน สนามกีฬามหาราชจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคร้าย และโรคซึมเศร้า

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคร้าย และโรคซึมเศร้ามากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคร้าย และโรคซึมเศร้า

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคร้าย และโรคซึมเศร้ามากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,250.00 0 0.00
1 - 31 ส.ค. 67 อบรมดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรคร้ายและโรคซึมเศร้า 0 15,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคร้าย และโรคซึมเศร้า
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคร้าย และโรคซึมเศร้า
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2566 00:00 น.