กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการแพทย์แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ(ชราธิวาส) ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2497-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 29 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2567
งบประมาณ 48,170.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัสฮา อับดุลรอหมาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยมีแนวโน้มสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุนี้เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนทั้งในด้านสุขภาพและสังคมการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านภาวะสุขภาพ แบบแผนการเกิดโรคได้เปลี่ยนมาเป็นการเสื่อมสภาพของร่างกายตามวัย และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ปัญหาปวดข้อทำให้ผู้สูงอายุเกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหว อันเป็นภาระต่อตนเองและผู้ดูแลก่อให้เกิดปัญหาทางด้านคุณภาพชีวิตและจิตใจ อีกทั้งสูญเสียเวลาและค่ารักษาเป็นจำนวนมากจากการคัดกรองตามแบบคัดกรองผู้สูงอายุ (Basic Geriatric Screening : BGS) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีประชากรผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลาที่ได้รับการคัดกรองอาการปวดเข่า มีผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ซึ่งเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม คิดเป็นร้อยละ 9.74 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุในตำบลตะปอเยาะที่ได้รับการคัดกรองดังกล่าว มีอาการปวดเข่าซึ่งเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม คิดเป็นร้อยละ 8.04
ปัจจุบันการรักษาโรคเข่าเสื่อมยังไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจังแม้แต่ตัวผู้ป่วยก็ยังขาดความรู้ในการดูแลตนเอง และมักจะหันไปพึ่งยาซึ่งการรับประทานยาเป็นเวลานานทำให้เกิดอาการข้างเคียงและมีผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นการบำบัดแบบไม่ใช้ยาหรือการบำบัดด้วยการแพทย์ทางเลือกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการรักษาโรคเข่าเสื่อม ด้วยวิธีการการพอกยาสมุนไพรด้วยสูตรยาพอกสมุนไพรสูตรเย็น และสูตรร้อนตามอาการของผู้สูงอายุแต่ละราย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเอง

ร้อยละ 90 ของผู้ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเอง

0.00
2 2.เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าแก่ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าและเข่าเสื่อม

ร้อยละ90ของผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าเสื่อม มีอาการปวดเข่าลดลง

0.00
3 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพอกยาสมุนไพรด้วยสูตรยาพอกสมุนไพรสูตรเย็น และสูตรร้อน

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุ ที่มีอาการปวดเข่า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48,170.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเข่า สาเหตุ อาการ การดูแลตนเอง และวิธีการใช้สมุนไพรใกล้ตัวในการพอกเข่า การนวดเข่า และการใช้เครื่องช่วยนวดในการบรรเทาอาการปวดเข่า และเข่าเสื่อม 0 25,470.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 กิจกรรมที่ 2 ปฏิบัติการการใช้ยาสมุนไพรในการพอกเข่าแก่ผู้สูงอายุ การพอกเข่าด้วยสมุนไพรสูตรเย็น 0 11,550.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 3 ปฏิบัติการการใช้ยาสมุนไพรในการพอกเข่าแก่ผู้สูงอายุ การพอกเข่าด้วยสมุนไพรสูตรร้อน 0 11,150.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวดเข่าทุเลาลง การรักษาด้วยหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยด้วยวิธีการพอกเข่าเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นซึ่งเป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น นำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้เกิดประโยชน์ โดยการนำมาเป็นส่วนประกอบของการพอกเข่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม เพราะมีความสะดวก ปลอดภัยและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีทางเลือกในการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2566 15:04 น.