กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้และเฝ้าระวังการใช้สมาร์ทโฟน เพื่อป้องกันโรคสมาธิสั้นและติดจอในเด็กปฐมวัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2567
รหัสโครงการ 67-L2512-3-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลลาเมาะนอก
วันที่อนุมัติ 11 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2566 - 30 พฤศจิกายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 14,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรา เจ๊ะสนิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเมาะนอก
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สมาร์ทโฟน เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีบทบาทสำคัญ และจำเป็นในชีวิตประจำวันเนื่องจากเข้าถึงได้ง่าย ใช้สะดวก มีประโยชน์ทั้งการติดต่อสื่อสาร การถ่ายภาพ การจัดเอกสารข้อมูล การเล่นอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมต่าง ๆ และสมาร์ทโฟนยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเลี้ยงเด็กหรือใช้เป็นของเล่นเบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโต และพัฒนาการทางสมองเจริญสูงสุด การใช้สมาร์ทโฟนในเต็กจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตอารมณ์ ด้านสังคมและด้านการสื่อสาร ทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น และความสามารถในการเรียนรู้ลดลงได้เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเดิบโต และมีพัฒนาการทางสมองเจริญสูงสุด จึงควรได้รับการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสม แต่ถ้าปล่อยให้เต็กใช้สมาร์ทโฟนต่อเนื่องเป็นเวลานานจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาททำให้พัฒนาการด้านร่างกาย จิตอารมณ์ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่อง พ่อแม่ หรือผู้ปกครองเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด จึงมีบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวัง และป้องกันผลกระทบ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้สมาร์ทโฟน โดยต้องมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการ ความต้องการและการตอบสนองความต้องการของเด็ก การอบรมเลี้ยงดูด้วยความรักเอาใจใส่ ให้ความเข้าใจ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนในเด็ก โดยการ ลด ละ เลิก การใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งผู้ปกครองต้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด มีการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลลาเมาะนอกถึงได้ตระหนักและให้ความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้และเฝ้าระวังการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อป้องกันโรคสมาธิสั้น และติดจอในเต็กปฐมวัยขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการดูแลการใช้สมาร์ทโฟนในทางที่เหมาะสม และส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เพื่อหลีกเลี่ยงโทษและปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับเด็กที่มาจากการติดสมาร์ทโฟนจนกลายเป็นโรคสมาธิสั้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในการเฝ้าระวังการใช้สมาร์ทโฟนในเด็กปฐมวัย เพื่อป้องกันโรคสมาธิสั้น

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการใช้สมาร์ทโฟนในเด็กปฐมวัย

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ปกครองมีแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมตามวัย

ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพจิตของเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมตามวัย
และลดความเสี่ยงของโรคสมาธิสั้น

0.00
3 3.เพื่อให้เด็กปฐมวัยใช้สื่อออนไลน์ในทางที่สร้างสรรค์

ผู้ปกครองสนับสนุนการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กปฐมวัยในทางที่สร้างสรรค์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,600.00 0 0.00
15 - 30 พ.ย. 66 อบรมให้ความรู้และเฝ้าระวังการใช้สมาร์ทโฟน เพื่อป้องกันโรคสมาธิสั้นและติดจอในเด็กปฐมวัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2567 0 14,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลและเฝ้าระวังการใช้สมาร์ทโฟนในเด็กปฐมวัย เพื่อป้องกัน โรคสมาธิสั้นและติดจอ
  2. เด็กปฐมวัยมีสุขภาพจิตดีเหมาะสมตามวัย
  3. เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมติดจอลดลงและใช้สื่อออนไลน์ในทางที่สร้างสรรค์มากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2566 00:00 น.