กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค้นหาป้องกันและควบคุมโรควัณโรคตำบลคลองมานิง
รหัสโครงการ 67-L3010-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองมานิง
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 19,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางต่วนสมาภรณ์ เจะเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองมานิง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยวัณโรค ตั้ังแต่ปี2563-2566
11.00
2 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้าน
21.00
3 3.กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ และบุคลากรสาธารณสุข
200.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย องค์การอนามัยโลกจัดลำดับ ให้ประเทสไทย ติดอันดับในกลุ่ม 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูง ทั้งวัณโรค (TB)วัณโรคที่มีการติดเชื้อ เอชไอวี ร่วมด้วย(TB/HIV)และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) โดยปี พ.ศ.2559 องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค มีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลกภายใน ปี พ.ศ.2578 โดยประเทศไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการระดับชาติค้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560-2564 มีเป้าประสงค์เพื่อลดอุบัติการณ์โรคให้เหลือ 88 ต่อประชากรแสนคน เมื่อสิ้นปี 2564 โดยมุ่งเน้นค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาระบบและ ซึ่ง วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่พบบ่อย คือ วัณโรคปอด ติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจโดยเชื้อจะออกมากับการไอ จาม ทำให้เชื้อกระจายในอากาศ ในห้องที่ทึบอับแสง เชื้อวัณโรคอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าเสมหะที่มีเชื้อลงสู่พื้นที่ไม่มีแสงแดดส่อง เชื้ออาจอยู่ได้ในเสมหะแห้งได้นานถึง 6 เดือน และเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจเอาเชื้อเข้าไป สำหรับอาการที่สำคัญของผู้ป่วยวัณโรคคือ ไอ ติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ ไอมีเสมหะหรือไอมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ มีไข้ต่ำๆตอนบ่ายหรือค่ำ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ส่วนการรักษาปัจจุบันวัณโรครักษาหายได้ด้วยยาที่มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยผู้ป่วยต้องกินยาให้ครบอย่างต่อเนื่องตลอดการรักษาเป็นเวลา 6-8 เดือน การป้องกันคือการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้หาย การรักษาที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ป่วยไม่แพร่เชื้อสู่ผู้อื่นและหายจากวัณโรคในที่สุด จังหวัดปัตตานี ปี 2564 - 2566 มีผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบขึ้นทะเบียนรักษาโรงพยาบาลปัตตานี จำนวน 378 ราย พบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคตำบลคลองมานิง ที่ขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค ตั้งแต่ 2563-2566 จำนวน 11 คน รายแยกรายปี ดังนี้ ปี2563 จำนวน 4 รายปี2564 จำนวน 1 ราย ปี 2565 จำนวน 3 ราย และ ปี 2566 จำนวน 3 ราย ผลการรักษาดังนี้ซึ่งได้เสียชีวิตแล้ว จำนวน2 รายรักษาสำเร็จ จำนวน 6 ราย กำลังรักษา จำนวน 2ราย และ ขาดการรักษาเนื่องจากขาดการติดต่อ ย้ายที่อยู่ไปมาเลเซีย จำนวน 1 ราย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองมานิง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาด้วยการจัดทำโครงการค้นหา ป้องกันและควบคุมโรควัณโรคในชุมชน ปี2567 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และได้รับการตรวจ และวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว เพื่อลดการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและตรวจรักษาที่รวดเร็ว

ร้อยละ75

67.00 50.25
2 เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล ติดตาม กำกับการกินยาให้ครบ(DOT)

ร้อยละ80

3.00 2.00
3 3.ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ป้องกันโรค

ร้อยละ80

67.00 53.60
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,800.00 0 0.00
1 ธ.ค. 66 - 30 ส.ค. 67 ขั้นเตรียมการ 1 ประชุมชี้แจงทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.คลองมานิง อสม.ตำบลคลองมานิง และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. จัดทำฐานข้อมูล (การเฝ้าระวังโรคติดต่อ, และคืนข้อมูลแก่ชุมชน/เครือข่าย)3. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ สนับสทะเบียนนุนงบประมา 0 2,300.00 -
1 ธ.ค. 66 - 31 ส.ค. 67 ขั้นดำเนินการ 4. จนท.และอสม คัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในสถานพยาบาล และเชิงรุกในชุมชน โดยให้ความรู้แก่ชาวบ้าน พร้อมติดป้ายประชาสัมพันธ์ความรู้โรควัณโรคในชุมชน 5. สำรวจกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยง 6.อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง 7. ตรวจx-ray ปอด ด้วยรถโมบสล 0 17,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2566 00:00 น.