กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองมานิง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการค้นหาป้องกันและควบคุมโรควัณโรคตำบลคลองมานิง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองมานิง

รพสต.คลองมานิง

รพ.สต.คลองมานิง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองมานิง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยวัณโรค ตั้ังแต่ปี2563-2566

 

11.00
2 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้าน

 

21.00
3 3.กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ และบุคลากรสาธารณสุข

 

200.00

วัณโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย องค์การอนามัยโลกจัดลำดับ ให้ประเทสไทย ติดอันดับในกลุ่ม 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูง ทั้งวัณโรค (TB)วัณโรคที่มีการติดเชื้อ เอชไอวี ร่วมด้วย(TB/HIV)และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) โดยปี พ.ศ.2559 องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค มีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลกภายใน ปี พ.ศ.2578 โดยประเทศไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการระดับชาติค้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560-2564 มีเป้าประสงค์เพื่อลดอุบัติการณ์โรคให้เหลือ 88 ต่อประชากรแสนคน เมื่อสิ้นปี 2564 โดยมุ่งเน้นค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาระบบและ ซึ่ง วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่พบบ่อย คือ วัณโรคปอด ติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจโดยเชื้อจะออกมากับการไอ จาม ทำให้เชื้อกระจายในอากาศ ในห้องที่ทึบอับแสง เชื้อวัณโรคอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าเสมหะที่มีเชื้อลงสู่พื้นที่ไม่มีแสงแดดส่อง เชื้ออาจอยู่ได้ในเสมหะแห้งได้นานถึง 6 เดือน และเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจเอาเชื้อเข้าไป สำหรับอาการที่สำคัญของผู้ป่วยวัณโรคคือ ไอ ติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ ไอมีเสมหะหรือไอมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ มีไข้ต่ำๆตอนบ่ายหรือค่ำ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ส่วนการรักษาปัจจุบันวัณโรครักษาหายได้ด้วยยาที่มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยผู้ป่วยต้องกินยาให้ครบอย่างต่อเนื่องตลอดการรักษาเป็นเวลา 6-8 เดือน การป้องกันคือการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้หาย การรักษาที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ป่วยไม่แพร่เชื้อสู่ผู้อื่นและหายจากวัณโรคในที่สุด
จังหวัดปัตตานี ปี 2564 - 2566 มีผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบขึ้นทะเบียนรักษาโรงพยาบาลปัตตานี จำนวน 378 ราย พบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคตำบลคลองมานิง ที่ขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค ตั้งแต่ 2563-2566 จำนวน 11 คน รายแยกรายปี ดังนี้ ปี2563 จำนวน 4 รายปี2564 จำนวน 1 ราย ปี 2565 จำนวน 3 ราย และ ปี 2566 จำนวน 3 ราย ผลการรักษาดังนี้ซึ่งได้เสียชีวิตแล้ว จำนวน2 รายรักษาสำเร็จ จำนวน 6 ราย กำลังรักษา จำนวน 2ราย และ ขาดการรักษาเนื่องจากขาดการติดต่อ ย้ายที่อยู่ไปมาเลเซีย จำนวน 1 ราย
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองมานิง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาด้วยการจัดทำโครงการค้นหา ป้องกันและควบคุมโรควัณโรคในชุมชน ปี2567 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และได้รับการตรวจ และวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว เพื่อลดการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและตรวจรักษาที่รวดเร็ว

ร้อยละ75

67.00 50.25
2 เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล ติดตาม กำกับการกินยาให้ครบ(DOT)

ร้อยละ80

3.00 2.00
3 3.ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ป้องกันโรค

ร้อยละ80

67.00 53.60

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสร่วมบ้าน 21
บุคลากรสาธารณสุข(รพ.สต.คลองมานิง) 8
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 33

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1 ประชุมชี้แจงทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.คลองมานิง อสม.ตำบลคลองมานิง และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. จัดทำฐานข้อมูล (การเฝ้าระวังโรคติดต่อ, และคืนข้อมูลแก่ชุมชน/เครือข่าย)3. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ สนับสทะเบียนนุนงบประมา

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ 1 ประชุมชี้แจงทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.คลองมานิง อสม.ตำบลคลองมานิง และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. จัดทำฐานข้อมูล (การเฝ้าระวังโรคติดต่อ, และคืนข้อมูลแก่ชุมชน/เครือข่าย)3. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ สนับสทะเบียนนุนงบประมา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดทำป้ายโครงการ 1 ป้าย ขนาด 1 x 3.2 เมตร x 250 บาทรวมเป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าจัดทำป้ายความรู้วัณโรคในชุมชนขนาด 1 x 1.5 เมตร4ป้าย x 375 บาทรวมเป็นเงิน1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงและประชาชนได้รับความรู้ การป้องกันโรควัณโรค ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ 4. จนท.และอสม คัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในสถานพยาบาล และเชิงรุกในชุมชน โดยให้ความรู้แก่ชาวบ้าน พร้อมติดป้ายประชาสัมพันธ์ความรู้โรควัณโรคในชุมชน 5. สำรวจกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยง 6.อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง 7. ตรวจx-ray ปอด ด้วยรถโมบสล

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ 4. จนท.และอสม คัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในสถานพยาบาล และเชิงรุกในชุมชน โดยให้ความรู้แก่ชาวบ้าน พร้อมติดป้ายประชาสัมพันธ์ความรู้โรควัณโรคในชุมชน 5. สำรวจกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยง 6.อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง 7. ตรวจx-ray ปอด ด้วยรถโมบสล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นดำเนินการ
4. จนท.และอสม คัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในสถานพยาบาล และเชิงรุกในชุมชน โดยให้ความรู้แก่ชาวบ้าน พร้อมติดป้ายประชาสัมพันธ์ความรู้โรควัณโรคในชุมชน 4 หมู่บ้าน 5. สำรวจกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยง (ผู้สัมผัสร่วมบ้าน,ผู้สูงอายุ,ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และบุคลากรสาธารณสุข) โดยใช้แบบสอบถามเบื้องต้น หากพบผู้มีอาการผิดปกติหรือสงสัย ส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาและวินิจฉัยโรคต่อไป

6 .จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลและป้องกันโรควัณโรคในกลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสร่วมบ้าน,ผู้สูงอายุ,ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และบุคลากรสาธารณสุข) และ อสม. 7. คัดกรองกลุ่มเสี่ยง ด้วยการ ตรวจ x-ray ปอดด้วยรถโมบายจากรพ.ปัตตานี(ผู้สัมผัสร่วมบ้าน,ผู้สูงอายุ,ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และบุคลากรสาธารณสุข)
8.เยี่ยมติดตามผู้ป่วย พร้อมกำกับการกินยาDot ทุกราย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
-ชุดความรู้ แผนพับ ชุดละ 25 บาท x 67 คน รวมเป็นเงิน1,675 บาท - ค่าอาหารกลางวัน (วันอบรมให้ความรู้) 67 คน x 70 บาทรวมเป็นเงิน4,690 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 67 คน x 2 มื้อรวมเป็นเงิน4,690 บาท - ค่าวิทยากร 2 คน ให้ความรู้ 6 ชั่วโมง x 600บาทรวมเป็นเงิน3,600 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม วัน x-ray ปอด ด้วยรถโมบาย40 คนx 35 รวมเป็นเงิน2,345 บาท
- ค่าจัดทำสมุดบันทึกการกินยา(Dot) เล่มละ 100 บาท x 5 เล่ม รวมเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยง(ผู้สัมผัสร่วมบ้าน,ผู้สูงอายุ,ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และบุคลากรสาธารณสุข)ได้รับการคัดกรองและ
    ตรวจรักษาที่รวดเร็ว ร้อยละ 75
  2. ผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียน ได้รับการดูแล ติดตาม กำกับการกินยาให้ครบ (DOT)ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>