กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค NCD ชุมชนบือเร็งใน เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L6961-1-26
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 38,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรุสลาม ชาลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 99 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถานการณ์โรคสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1. โรคความดันโลหิตสูง(HT) 2.โรคเบาหวาน (DM) 3.โรคไขมันในเลือดสูง (DLP) 4.โรคหัวใจ 5.โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
99.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรค และ อัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30 - 69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญประกอบด้วยโรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 38 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 68 ของการเสียชีวิต) ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาหลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปีพ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายสูงกว่าเพศหญิง (กรมควบคุมโรค, 2562) ซึ่งชุมชนบือเรงใน ตำบลสุไหงโก-ลก มี 188 หลังคาเรือน, ประชากรทั้งหมด 738 ราย เพศชาย 372 ราย เพศหญิง 366 ราย อายุ 0 - 5 ปี 52 ราย (เพศชาย 27 ราย, เพศหญิง 25 ราย), อายุ 6 – 14 ปี 122 ราย (เพศชาย 71 ราย, เพศหญิง 51 ราย) อายุ 15 – 21 ปี 86 ราย (เพศชาย 44 ราย, เพศหญิง 42 ราย), อายุ 16 – 56 ปี 479 ราย (เพศชาย 240 ราย, เพศหญิง 239 ราย), ผู้สูงอายุ 87 ราย (เพศชาย 37, เพศหญิง 50 ราย), ผู้ป่วยติดบ้าน 2 ราย,ติดสังคม 85 ราย, พิการ 1 ราย สถานการณ์โรคสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1. โรคความดันโลหิตสูง(HT) 2.โรคเบาหวาน (DM) 3.โรคไขมันในเลือดสูง (DLP) 4.โรคหัวใจ 5.โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว มักเกิดจาก“กรรมพันธุ์และพฤติกรรม” เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน จากสถิติของผู้ป่วยชุมชนบือเรงใน ตำบลสุไหงโก-ลก ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มารับบริการในศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ในปี 2566 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (HT) จำนวน 47 ราย, โรคเบาหวาน (DM) จำนวน 9 ราย และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 33 ราย โดยเป็นกลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ 15 – 59 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ร่วมกับศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 เล็งเห็นความสำคัญของคนในชุมชนเพื่อไม่ให้เกิดกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยรายใหม่ซึ่งชุมชนมีความพร้อมและประสงค์แก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนของตนเอง จึงได้จัดทำโครงการ“ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค NCD” ชุมชนบือเร็งใน เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปีงบประมาณ 2567

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความใจในการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3อ.2ส.

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3อ.2ส.

47.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ.2ส.

ร้อยละ 50 ของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ.2ส.

9.00 50.00
3 เพื่อป้องกันไม่ให้มีกลุ่มเสี่ยง และลดกลุ่มป่วยรายใหม่และลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย

ร้อยละ 50 ของระดับความดันโลหิต/ ระดับน้ำตาลในเลือด รอบเอว ค่า BMI ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

33.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38,500.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน และจัดทำเวทีประชาคม 0 2,000.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 โครงการ “ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค NCD” ชุมชนบือเร็งใน เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปีงบประมาณ 2567 0 15,000.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 แลกเปลี่ยนเรียนรู้เมนูอาหารหวาน มัน เค็ม และเมนูเพื่อสุขภาพ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ชุมชนบือเร็งใน เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปีงบประมาณ 2567 0 14,300.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ติดตามกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการ“ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค NCD” ชุมชนบือเร็งใน เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปีงบประมาณ 2567 0 7,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3 อ. 2 ส.
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมี ทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ. 2 ส.
  3. ไม่เกิดกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยรายใหม่ ลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยมีสุขภาพดีถ้วนหน้า
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2566 00:00 น.