กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงวัย ไม่พึ่งพิง เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L6961-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 25,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอซีดาเจ๊ะแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุขาดความรู่้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองเมื่อมีอาการเจ๊บป่วยที่ถูกต้อง แบบประเมินความรุ้เรื่องการดูแลตนเองก่อนและหลัง
50.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุขาดความรู้การเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยที่ถูกต้อง แบบประเมินความรู้การเฝ้าระวังที่ถูกต้องก่อนและหลัง
50.00
3 ร่อยละของผู้สุงอายุและบุคคลอืนที่มีภาวะพึ่งพิงขาดการได้รับการประเมินคัดกรอง ADL
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หากพิจารณาจากคำจำกัดความที่ว่าสังคมผู้สูงอายุคือสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่า 10% หรือมีประชาชนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 7% ประเทศไทยก็เป็นสังคมผู้สูงอายุแล้วตั้งแต่ปี 2548 เนื่องจากประเทศไทยมีประชากรตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 10.4% และยังคาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า สังคมไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยพิจารณาจากจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% หรือมีประชากรที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไปเกินกว่า 14% ซึ่งคาดว่าในปี 2571 ประเทศไทยจะมีผู้ที่อายุเกิน 60 ปี 23.5%
ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีประชากรผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2564 จำนวน 6,075 คน คิดเป็นร้อยละ 14.95 และในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 6,203 คน คิดเป็นร้อยละ 15.43 และในปี 2566 จำนวน 6,554 คน คิดเป็นร้อยละ 16.36 และมีผู้พิการ 800 คน ซึ่งมีกลุ่มผู้สูงอายุมีติดบ้านติดเตียง ในปี 2566 จำนวน 88 คน กล่าวโดยรวม คือ ประเทศไทยจะก้าวจากสังคมผู้สูงอายุ เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทั้งนี้ประเทศไทยเมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงควรมีการเตรียมการเพื่อรองรับ เมื่อมีคนแก่หรือคนชรา รวมถึงผู้พิการมากขึ้น ส่งผลให้สภาพร่างกายและจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงต้องมีการปรับตัว ที่สำคัญเมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลง ปัญหาด้านสุขภาพก็จะตามมา โดยเฉพาะในโรคยอดฮิต คือ หลอดเลือดสมอง (Stroke) ปัจจุบันพบผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่เจ็บป่วยร่วมด้วยที่ยอด617 ราย และเสียชีวิต 12 ราย (ข้อมูลจาก HDC 15/11/66) ซึ่งทั้งหมดเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนควรมีการเตรียมการเพื่อรองรับจำนวนผู้สูงอายุที่จะมีเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยได้มีนโยบายสำคัญให้ผู้สูงอายุติดสังคมและกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง (ติดบ้านติดเตียง) ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมและได้สนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) เป็นหน่วยบริหารจัดการพัฒนาระบบระยะยาวเชิงรุกที่บ้าน เพื่อรองรับสถานการณ์ที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมุ่งหวังให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นหน่วยหลักในการบริหารและจัดบริการดูแลระยะยาวฯ เชิงรุกที่บ้าน หรือที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และคนพิการภายใต้การสนับสนุนของเครือข่ายหน่วยบริการประจำในพื้นที่
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้ตระหนักถึงประชาชนในกลุ่มวัยผู้สูงอายุและผู้พิการ ที่ยังไม่ได้รับชุดสิทธิประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ ให้ได้รับสิทธิฯ และเพื่อให้เกิดความควบคลุมในพื้นที่ รวมถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้ถูกต้อง

ร้อยละผู้สูงอายุมีระดับคะแนนความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพในวัยผู้สูงอายุร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้การเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วย

ร้อยละผู้สูงอายุมีความรู้เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยได้ร้อยละ 80

50.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มึภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับชุดสิทธฺิประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ

ร้อยละผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพิ่งพิงในชุมชนได้รับการคัดกรองการประเมิน ADL

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,600.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมส่งเสริมความรู้ การปฎิบัติตัว กลุ่มติดสังคม 0 13,200.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 ลงคัดกรองกลุ่มติดบ้านติดเตียงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง 0 12,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้ถูกต้อง
  2. ผู้สูงอายุมีความรู้การเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วย 3.ผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับชุดสิทธฺิประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2566 00:00 น.