กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงวัย ไม่พึ่งพิง เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

นายพิทักศิษย์พานิชธนาคม ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตี สิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข
นางสาวรอซีดาเจ๊ะแว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 064-0477513
นางสาวพนิดารัตนสุริยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 0973452068

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุขาดความรู่้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองเมื่อมีอาการเจ๊บป่วยที่ถูกต้อง แบบประเมินความรุ้เรื่องการดูแลตนเองก่อนและหลัง

 

50.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุขาดความรู้การเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยที่ถูกต้อง แบบประเมินความรู้การเฝ้าระวังที่ถูกต้องก่อนและหลัง

 

50.00
3 ร่อยละของผู้สุงอายุและบุคคลอืนที่มีภาวะพึ่งพิงขาดการได้รับการประเมินคัดกรอง ADL

 

50.00

ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หากพิจารณาจากคำจำกัดความที่ว่าสังคมผู้สูงอายุคือสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่า 10% หรือมีประชาชนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 7% ประเทศไทยก็เป็นสังคมผู้สูงอายุแล้วตั้งแต่ปี 2548 เนื่องจากประเทศไทยมีประชากรตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 10.4% และยังคาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า สังคมไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยพิจารณาจากจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% หรือมีประชากรที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไปเกินกว่า 14% ซึ่งคาดว่าในปี 2571 ประเทศไทยจะมีผู้ที่อายุเกิน 60 ปี 23.5%
ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีประชากรผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2564 จำนวน 6,075 คน คิดเป็นร้อยละ 14.95 และในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 6,203 คน คิดเป็นร้อยละ 15.43 และในปี 2566 จำนวน 6,554 คน คิดเป็นร้อยละ 16.36 และมีผู้พิการ 800 คน ซึ่งมีกลุ่มผู้สูงอายุมีติดบ้านติดเตียง ในปี 2566 จำนวน 88 คน กล่าวโดยรวม คือ ประเทศไทยจะก้าวจากสังคมผู้สูงอายุ เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทั้งนี้ประเทศไทยเมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงควรมีการเตรียมการเพื่อรองรับ เมื่อมีคนแก่หรือคนชรา รวมถึงผู้พิการมากขึ้น ส่งผลให้สภาพร่างกายและจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงต้องมีการปรับตัว ที่สำคัญเมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลง ปัญหาด้านสุขภาพก็จะตามมา โดยเฉพาะในโรคยอดฮิต คือ หลอดเลือดสมอง (Stroke) ปัจจุบันพบผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่เจ็บป่วยร่วมด้วยที่ยอด617 ราย และเสียชีวิต 12 ราย (ข้อมูลจาก HDC 15/11/66) ซึ่งทั้งหมดเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนควรมีการเตรียมการเพื่อรองรับจำนวนผู้สูงอายุที่จะมีเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยได้มีนโยบายสำคัญให้ผู้สูงอายุติดสังคมและกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง (ติดบ้านติดเตียง) ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมและได้สนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) เป็นหน่วยบริหารจัดการพัฒนาระบบระยะยาวเชิงรุกที่บ้าน เพื่อรองรับสถานการณ์ที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมุ่งหวังให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นหน่วยหลักในการบริหารและจัดบริการดูแลระยะยาวฯ เชิงรุกที่บ้าน หรือที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และคนพิการภายใต้การสนับสนุนของเครือข่ายหน่วยบริการประจำในพื้นที่
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้ตระหนักถึงประชาชนในกลุ่มวัยผู้สูงอายุและผู้พิการ ที่ยังไม่ได้รับชุดสิทธิประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ ให้ได้รับสิทธิฯ และเพื่อให้เกิดความควบคลุมในพื้นที่ รวมถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้ถูกต้อง

ร้อยละผู้สูงอายุมีระดับคะแนนความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพในวัยผู้สูงอายุร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้การเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วย

ร้อยละผู้สูงอายุมีความรู้เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยได้ร้อยละ 80

50.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มึภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับชุดสิทธฺิประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ

ร้อยละผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพิ่งพิงในชุมชนได้รับการคัดกรองการประเมิน ADL

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมส่งเสริมความรู้ การปฎิบัติตัว กลุ่มติดสังคม

ชื่อกิจกรรม
อบรมส่งเสริมความรู้ การปฎิบัติตัว กลุ่มติดสังคม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุติดสังคม 40 คน คณะทำงาน 5 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- จัดอบรมความรู้แก่ผู้สูงอายุติดสังคมเกี่ยวกับการดูแลและการปฏิบัติตนในการเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี เป็นระยะเวลา 1 วัน
กำหนดการ
08.30 - 08.55 น. ลงทะเบียน/คัดกรองภาวะซึมเศร้า/ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน/การเคลื่อนไหว
08.55 - 09.00 น. เปิดพิธีอบรมฯ
09.00 - 12.00 น. อบรมความรู้การส่งเสริมและป้องกันการเกิดอันตรายในวัยสูงอายุ / อบรมความรู้เกี่ยวกับ โรคจิตเวชในวัยสูงอายุ
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้ รู้จักสมุนไพรช่วยผ่อนคลายกับแพทย์แผนไทย พร้อมสาธิตการทำสมุนไพรแช่เท้าเพื่อสุขภาพ
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 45 คน เป็นเงิน 2,700 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 45 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,700 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการ 3,000 บาท
- ค่าป้ายโครงการ 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุติดสังคมมีความรู้ในการส่งเสริมและป้องกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13200.00

กิจกรรมที่ 2 ลงคัดกรองกลุ่มติดบ้านติดเตียงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง

ชื่อกิจกรรม
ลงคัดกรองกลุ่มติดบ้านติดเตียงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในแต่ละชุมชน
- ประธานชุมชนหรือ อสม. ชุมชนละ 2 คน
- เจ้าหน้าที่กองสวัสดิการ 2 คน
- เจ้าหน้าที่กองสาธรณสุขฯ 2 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประสานประธานชุมชนหรืออสม.ในแต่ละชุมชน ร่วมลงเยี่ยมบ้านคัดกรองผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อคัดกรองเข้าสู่กองทุน LTC ปีละ 2 ครั้ง (6 เดือน/ครั้ง)
งบประมาณ
- ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงาน 2 คน x 50 บาท x 2 ชม.x 31 ชุมชน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 12,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการคัดกรองเข้าสู่กองทุน LTC

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,600.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้ถูกต้อง
2. ผู้สูงอายุมีความรู้การเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วย
3.ผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับชุดสิทธฺิประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ


>