กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5211-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 14,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดารัตน์ ศรีเพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 14,400.00
รวมงบประมาณ 14,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอับดับ ๑ และ ๒ ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติปี ๒๕๖๖ พบว่าโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสัดส่วนร้อยละ ๓๑.๔ ของมะเร็งทุกชนิดในสตรี โรคมะเร็งที่พบรองลงมา ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม, โรคมะเร็งช่องปาก, โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งรังไข่ ฯลฯ ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งฯลดลง กระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้บรรจุแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับโรคดังกล่าวขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดคือ สตรีที่มีอายุระหว่าง ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจ PAP smear ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ (ผลงาน ๑ ต.ค.๒๕๖๕ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๖๖) และสตรีที่มีอายุระหว่าง ๓๐-๗๐ ปี ต้องได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองจากเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครสาธารณสุข ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
ซึ่งจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในรอบ ๕ ปี ถึงเดือนปัจจุบัน ตั้งแต่ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๕ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลาพบว่า จำนวนผู้มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
ร้อยละ ๗๙.๕๓ (จากฐานข้อมูล HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖) ผลงานตรวจมะเร็งปากมดลูกในรอบ ๑ ปี (ผลงาน ๑ ต.ค.๒๕๖๕ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๖๖) ร้อยละ ๑๗.๙๔ ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ และสตรีที่มีอายุระหว่าง ๓๐-๗๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองจากเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครสาธารณสุข ร้อยละ ๕๕.๓๒ (จากฐานข้อมูล HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖) ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามเป้าหมายที่กำหนดและประกอบกับได้พบเห็นผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมได้รับความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมอยู่อย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถค้นหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น, สามารถให้การช่วยเหลือดูแล รักษาได้ ผู้ป่วยก็จะไม่ต้องทุกข์ทรมานมากและก็จะสามารถมีอายุที่ยืนยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการวิเคราะห์ตามสถานการณ์พบว่า งานการเฝ้าระวังการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้นในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่ค่อยมารับบริการ ทั้งนี้เพราะสตรีเป็นเพศที่มีความละอาย มีความอดทน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีที่อยู่ในชนบทจะมีความอดทนสูง ความละอาย ความไม่กล้า และความอดทนที่มีอยู่นี้ก็อาจจะเป็นทั้งคุณและโทษในคราวเดียวกันได้ เช่น เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องของอวัยวะเพศแล้วไม่กล้าพูด ไม่กล้าบอกใคร ถึงเจ็บปวดก็มีความอดทน
สิ่งนี้หากเขาเป็นโรคร้ายก็อาจสายเกินแก้ที่ไม่สามารถช่วยได้ในภายหลัง งานการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมจึงเป็นงานยากต่อการปฏิบัติเป็นปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร, อาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำองค์กรชุมชน มีความตระหนัก และเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงเกิดแนวความคิดในการทำงานร่วมกัน นำรูปแบบการทำงานเชิงรุกมาใช้ โดยการใช้ศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่อย่างเต็มที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ผสมผสานกับวิทยาการทางการแพทย์สอดแทรกเสริมให้กับกลุ่มพลังมวลชน การที่คนได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพให้สมกับความเป็นมนุษยชาติสามารถช่วยเหลือดูแลตนเอง ช่วยเหลือดูแลบุคคลในครอบครัว และบุคคลอื่นในชุมชนให้พ้นจากพิษภัยของโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม สร้างคนให้เป็นคนดีมีคุณภาพต่อสังคมส่งผลให้ประชาชนในชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุยืนยาวสามารถอยู่ในสังคมได้ด้วยความปกติสุขไม่เป็นภาระของประเทศชาติ นับเป็นคุณอนันต์ที่จะก่อให้เกิดกุศลกรรม (คือผลแห่งการกระทำความดี) ของประชาชนในชาติได้เป็นอย่างดียิ่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหารร่วมกับแกนนำชุมชน จึงได้คิดจัดทำการพัฒนานวัตกรรมทำโครงการรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

 

2 เพื่อให้สตรีที่มีอายุระหว่าง ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและสตรีที่มีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนเกิดการตื่นตัวในการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๒. ประชาชนเกิดความตระหนักถึงพิษภัยของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๓. ประชาชนมีความต่อเนื่องในการตรวจ ติดตาม และปฏิบัติกันจนเป็นวิถีชีวิตที่ยั่งยืน ๔. ประชาชนในพื้นที่ไม่พบการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 10:19 น.