กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะอุทกภัย
รหัสโครงการ 67-L3013-05-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 พฤศจิกายน 2566 - 19 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 19 มกราคม 2567
งบประมาณ 98,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอสดี เงาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภัยธรรมชาติโดยเฉพาะอุทกภัยเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบและความเสียหายขึ้นมากมาย ได้แก่ ผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากนํ้าท่วม เกิดปัญหาอุปสรรคต่อการดําเนินชีวิตของผู้ประสบภัย สร้างความกดดัน เกิดความสูญเสียด้านทรัพย์สิน เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมาย อย่างฉับพลัน รวดเร็ว ถือเป็นภาวะวิกฤต และภาวะอันตราย ฤดูฝน เป็นฤดูที่อากาศเปลี่ยนแปลงจากความร้อนสู่ความชื้น เป็นช่วงที่เชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสทั้งหลายเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี และแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วกว่าฤดูอื่น ๆ จึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ โรคที่พบบ่อยในฤดูฝน จะมี 3 กลุ่มโรค ประกอบด้วย 1. กลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยที่สุด เช่น ไข้หวัดใหญ่ปอดอักเสบหรือปวดบวม 2. กลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร น้ำ และการสัมผัส พบบ่อยที่สุด เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้ฉี่หนู โรคเมลิออยด์ 3. กลุ่มโรคที่เกิดจากยุงและสัตว์อื่น ๆ ที่เป็นพาหะ พบบ่อย เช่น โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบานา จึงได้จัดทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและแกนนำในพื้นที่ตำบลบานา ลงพื้นที่ในการดูแลสุขภาพป้องกันโรค แก่ประชาชน อีกทั้งให้การสนับสนุนชุดยาสามัญประจำบ้านที่จําเป็นให้แก่พื้นที่ประสบภัย และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้และความตระหนักในการป้องกัน ดูแลสุขภาพ ลดการเจ็บป่วย และลดการเกิดโรคติดต่อต่าง ๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม(คน)

 

0.00
2 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพในช่วงฤดูฝนและหลังน้ำลด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 98,850.00 3 98,850.00
30 พ.ย. 66 กิจกรรมแกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการกองทุน ลงสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 100 0.00 0.00
4 - 31 ธ.ค. 66 แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการกองทุน ลงเยี่ยมติดตามและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ 100 87,300.00 87,300.00
4 - 8 ธ.ค. 66 ประชุมเชิงปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมในการรับมือจากอุทกภัย 100 11,550.00 11,550.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนตำบลบานาได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพที่ตามมาจากน้ำท่วม

2.ประชาชนในพื้นที่ไม่เป็นโรคที่เกิดจากน้ำท่วม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 00:00 น.