กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้


“ โครงการรวมพลังพัฒนาสุขาภิบาลครัวเรือน ”

ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางรมย์รวินท์ แก้วจันทร์

ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังพัฒนาสุขาภิบาลครัวเรือน

ที่อยู่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 67-L8402-2-02 เลขที่ข้อตกลง 02/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง 19 มกราคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการรวมพลังพัฒนาสุขาภิบาลครัวเรือน จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการรวมพลังพัฒนาสุขาภิบาลครัวเรือน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการรวมพลังพัฒนาสุขาภิบาลครัวเรือน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 67-L8402-2-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ธันวาคม 2566 - 19 มกราคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 5,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

บ้านหรือที่พักอาศัยถือเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นสถานที่ที่ประชาชนใช้ในการอยู่อาศัย และทำกิจกรรมต่างๆของบุคคลในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตและสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประชาชนละเลยต่อสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว และไม่มีการจัดการดูแลที่พักอาศัยที่เหมาะสมโดยเฉพาะในเรื่องของการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานในครัวเรือน เช่น ลักษณะของบ้านและบริเวณโดนรอบ ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องนอน ห้องครัว น้ำอุปโภค บริโภค การจัดการมูลฝอย การจัดการน้ำเสียครัวเรือน การควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค สารเคมีและความปลอดภัย พฤติกรรมสุขอนามัยในครัวเรือน การมีส่วนร่วมด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือละเลยการสร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ก็อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ซึ่งไข้เลือดออกพบในพื้นที่หมู่ 11 จำนวน 2 ราย โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหารที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ เป็นต้น โรคต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องและเหมาะสม
          ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชน สังคม และระดับประเทศ ซึ่งปัญหานี้นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร และจากการทําประชาคมสุขภาพ เมื่อเดือนตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา พบปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ หมู่ 11 บ้านจังโหลน คือ ปัญหาขยะ ซึ่งสอดคล้องกับการสํารวจพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการกําจัดขยะในครัวเรือนโดยการเผา ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในชุมชน ซึ่งการลดปริมาณขยะ ส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ถูกต้องและการจัดการขยะที่ถูกวิธีต้องเริ่มต้นที่ต้นทาง คือ บ้าน ซึ่งการดำเนินการจะใช้เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว : Green Office (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2565) ประยุกต์ใช้จากสำนักงานสู่หมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึง สร้างการมีส่วนร่วม สร้างจิตสำนึกและมีส่วนร่วมของคนในองค์กรสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร สุขภาพอนามัยที่ดี มีการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร ในด้านอากาศ ฝุ่นละออง สารเคมี เชื้อโรคต่างๆที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของพนักงาน ลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้า น้ำปะปา เชื่อเพลิง กระดาษและอุปกรณ์ ลดโลกร้อน ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นหนึ่งในการลดโลกร้อน (กรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยสากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)         ดังนั้น เพื่อสร้างความตระหนัก ปลูกจิตสํานึก ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและเป็นผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งมีความสําคัญต่อการพัฒนาสุขาภิบาลครัวเรือน ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 11 บ้านจังโหลน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลคูหาใต้ จึงได้จัดทำโครงการ “รวมพลังพัฒนาสุขาภิบาลครัวเรือน” เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการสุขาภิบาลครัวเรือน การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานในครัวเรือน ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งภายในบ้านและบริเวณบ้านโดยรอบ ให้ถูกต้องและเหมาะสม ตามหลักสุขาภิบาล รวมทั้งสร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีตลอดจนการมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน นับเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในครัวเรือน ให้มีความใส่ใจต่อสุขภาพ ลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและลดปริมาณมูลฝอยในชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ระดับครัวเรือน และขยายผลสู่ชุมชนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและทำความสะอาดบ้านตามหลักสุขาภิบาล
  2. เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยในครัวเรือนที่ถูกต้อง
  3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน
  4. เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้ประชาชนมีความใส่ ใจต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 33
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. เกิดสภาพแวดล้อมในบ้านและบริเวณโดยรอบ รวมถึงหมู่บ้าน/ชุมชน ที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ
    2. เกิดสุขนิสัยที่ดีในเรื่องการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคล
    3. ป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคที่มีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
    4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศเป็นเมืองสะอาด (Clean Cities)
    5. เกิดหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการสุขาภิบาลครัวเรือนและขยายผลสู่หมู่บ้านใกล้เคียง

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง วางแผนการดำเนินกิจกรรมโครงการ รับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้มีความเข้าใจในแนวทางเดียวกัน จัดทำแผนกำหนดวันจัดกิจกรรมตรวจสุขาภิบาลครัวเรือนและให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลครัวเรือน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 11 บ้านจังโหลน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อของบประมาณสนับสนุนโครงการฯ ต่อมา ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ทำหนังสือเชิญโดยออกหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายให้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านทาง อสม. เมื่อถึงวันนัดผู้เข้าร่วมโครงการฯมาลงทะเบียน ณ จุดลงทะเบียน ศาลาอเนกประสงค์วัดจังโหลน โดยมี อสม.และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ รับลงทะเบียนและดำเนินกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการสุขาภิบาลครัวเรือนตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยเน้นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติและสอดแทรกด้วยเนื้อหาความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในกิจวัตรประจำวัน พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในการดูแลสุขาภิบาลครัวเรือนของตนเอง เพื่อเป็นการนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและทำความสะอาดบ้านตามหลักสุขาภิบาล
    ตัวชี้วัด : มีการปรับปรุงและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในที่พักอาศัย และพฤติกรรมสุขอนามัยในครัวเรือน รวมถึงการมีส่วนร่วมด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชน
    80.00 100.00

    กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน 33 ครัวเรือน มีการปรับปรุงและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในที่พักอาศัยตามคำแนะนำของผู้ประเมินในครั้งที่ 1 ทุกหลังคาเรือน

    2 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยในครัวเรือนที่ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : ประชาชนในพื้นที่บ้านจังโหลน หมู่ที่ 11 ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เข้าร่วมโครงการ
    100.00 100.00

    กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 33 ครัวเรือน

    3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน
    ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจหลังจากทำโครงการ
    80.00 95.72

    กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 33 ครัวเรือน สามารถทำแบบทดสอบความรู้หลักจากการเข้าร่วมโครงการซึ่งได้ผ่านเกณฑ์ (ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนทั้งหมด) จำนวน 32 ครัวเรือน

    4 เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้ประชาชนมีความใส่ ใจต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี
    ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ
    100.00 91.60

    กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 33 ครัวเรือน ทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการซึ่งได้ผ่านเกณฑ์ (ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนทั้งหมด) จำนวน 31 ครัวเรือน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 33 33
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 33
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและทำความสะอาดบ้านตามหลักสุขาภิบาล (2) เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยในครัวเรือนที่ถูกต้อง (3) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน (4) เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้ประชาชนมีความใส่ ใจต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการรวมพลังพัฒนาสุขาภิบาลครัวเรือน จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 67-L8402-2-02

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางรมย์รวินท์ แก้วจันทร์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด