กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ การอบรมการสร้างสื่อสุขภาพ ชนิดStop Motion เพื่อเยาวชนตำบลมะรือโบตก
รหัสโครงการ 67-L8302-2-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลมะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 12 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฟัยรุต สะดียามู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน
45.00
2 ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตาย
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน มากกว่าร้อยละ 90 ของวัยรุ่นและเยาวชนไทยสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นการเข้าถึงผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่มีความสะดวก สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยกิจกรรมที่วัยรุ่นและเยาวชนใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดอันดับแรก (ถึงร้อยละ 98 หรือ เกือบทั้งหมดของวัยรุ่นและเยาวชนที่ใช้อินเทอร์เน็ต) เป็นในเรื่องการติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social networks) แพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook Twitter Line และ Instagram เป็นต้น โดยมีสัดส่วน ของผู้ใช้ที่สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประชากร ในกลุ่มอายุอื่น กิจกรรมบนโลกอินเทอร์เน็ต อันดับ 1 เป็นการเข้าใช้เพื่อสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) อันดับ 2 และ 3 เป็นการใช้งานส่วนตัว ส่วนใหญ่เพื่อความบันเทิงในการดาวน์โหลดและ อัพโหลดข้อมูลรูปภาพ วิดีโอ เพลง หรือภาพยนตร์ ในลักษณะการแบ่งปัน หรือ การ “share” บนเว็บไซต์ ขณะที่ กิจกรรมเพื่อการศึกษาเรียนรู้ มีสัดส่วนการใช้ ไม่ถึงร้อยละ 30 โดยอยู่ในอันดับที่ 9 ดังนั้น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการใช้ชีวิตบนโลกสังคมออนไลน์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นของวัยรุ่นและเยาวชน เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงในขณะเดียวกัน “โอกาส” ในที่นี้ คือ การที่วัยรุ่นและเยาวชนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและช่องทางการติดต่อสื่อสารบนโลกออนไลน์ในการหาความรู้และข้อมูลต่าง ๆ มาเพื่อพัฒนาเพิ่มศักยภาพและทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตและการทำงานในอนาคตได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็มี “ความเสี่ยง” และภัยออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึง คุณครูอาจารย์ ในสถานศึกษา ต้องใส่ใจเฝ้าระวัง พูดคุย ให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่เหมาะสมแก่ลูกหลาน นักเรียนนักศึกษาที่เป็นวัยรุ่นและเยาวชนต่อไป

    สถาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลมะรือโบตก จึงได้จัดทำโครงการอบรมการสร้างสื่อสุขภาพ ชนิด Stop Motion ในเยาวชนตำบลมะรือโบตกขึ้น เพื่อให้เยาวชนได้เข้ามาเรียนรู้ภัยจากสื่อออนไลน์ พร้อมกับเรียนรู้การออกแบบสื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

45.00 80.00
2 เพื่อลดภาวะภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตายเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)  ที่มีภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตาย

10.00 0.10
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 67 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมบรรยายในหัวข้อ มหันตภัย/ ภัยสื่อออนไลน์ปัญหาสุขภาพของวัยรุ่น /แบ่งกลุ่มถอดบทเรียน ปัญหาการใช้สื่อในวัยรุ่น/ วัยเรียนและสรุปบทเรียนและนำเสนอกลุ่ม การจัดทำสื่อออนไลน์ ชนิด Stop Motion 0 7,100.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมอบรมพร้อมปฏิบัติการ การจัดทำสื่อออนไลน์ ชนิด Stop Motion (ต่อ) 0 16,700.00 -
รวม 0 23,800.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)   1. เข้าร่วมในเวทีสะท้อนปัญหาสุขภาพของตำบลมะรือโบตก   2. ประชุมกลุ่มสภาเด็กและเยาวชนพร้อมออกแบบกิจกรรม   3. เสนอโครงการเพื่อขอนับเงินสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมะรือโบตก   4. จัดกิจกรรมตามโครงการ ประกอบด้วย     4.1 กิจกรรมการการอบรมให้ความรู้เรื่องภัยจากสื่อออนไลน์     4.2 กิจกรรมการอบรมพร้อมปฏิบัติการ 3 Pพร้อมปฎิบัติการตัดต่อพร้อมนำเสนอสื่อออนไลน์ที่เป็นประโยชน์   5. สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องภัยจากสื่ออนไลน์และสามารถสร้างสร้างสื่อที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2566 10:56 น.