กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 28 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 72,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมาน แวหะยี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมบริโภคของประชาชนจากการปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน เปลี่ยนเป็นการบริโภคอาหารนอกบ้านมากขึ้น ฉะนั้น ประชาชนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อ การรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด จากการสัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องในระหว่างเตรียม - ปรุง - ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหารได้ การพัฒนางานด้านสาธารณสุข ของเทศบาลเมืองสะเตงนอก เน้นการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคเป็นหลักให้ความสำคัญของการเป็นเมืองอาหารสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหาร ด้วยการพัฒนาร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร จากข้อมูลการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการด้านอาหาร ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ประจำปีงบประมาณ 2566 ของเทศบาลเมืองสะเตงนอก พบว่า มีร้านจำหน่ายอาหารและสะสมอาหารทั้งหมด 218 แห่ง แผงลอยจำหน่ายอาหารจำนวนมาก และยังไม่ขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้สัมผัสอาหารในกิจการด้านอาหารดังกล่าว เป็นบุคคลสำคัญในการจัดหา ประกอบ ปรุงอาหาร และให้บริการแก่ผู้บริโภค จำเป็นต้องผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร เพื่อให้ผู้ประกอบการดังกล่าวมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ ไปสู่ผู้บริโภคได้ และเพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารจากร้านที่ผู้ประกอบการมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร และมีการพัฒนาร้านให้ผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนั้น จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว กองสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก ตะหนักถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการอบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารขึ้น เพื่อให้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสะเตงนอก พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงนักท่องเที่ยวได้รับการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย จากสถานประกอบกิจการที่ได้มาตรฐานต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมฯตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

 

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารมีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร

 

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 72,300.00 0 0.00
??/??/???? อบรมผู้ประกอบกิจการ ตามหลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการ 0 13,600.00 -
??/??/???? อบรมผู้สัมผัสอาหารตามหลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร 0 11,750.00 -
??/??/???? ตรวจประเมินร้านอาหารโดยใช้เกณฑ์ Clean Food Good Test ของกรมอนามัยโดยคณะกรรมการ 0 37,950.00 -
??/??/???? กิจกรรมมอบป้าย Clean Food Good Test ให้กับร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์ 0 9,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง - ประกอบอาหาร ได้อย่างถูกต้อง
  2. ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารมีการปรับปรุงและยกระดับสถานประกอบการด้านอาหารให้ได้มาตรฐาน ตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร
  3. ประชาชนทั่วไป (ผู้บริโภค) ได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปลอดโรค และมีสุขภาพที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2566 14:58 น.