กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพประชาชน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 2567 - L3309 - 2 - 16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพสต.บ้านพังกิ่ง
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมนูญ หนูทอง ประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านพังกิ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปีงบประมาณ2566 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในการใช้สารเคมีได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดจำนวน 200 คน พบผลไม่ปลอดภัยจำนวน52คน
52.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารกำจัดศัตรูพืช เป็นสารที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ถูกนํามาใช้อย่างแพร่หลายในด้านเกษตรกรรมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร และผู้บริโภค ตลอดจนเกิดปัญหาการตกค้างของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดพิษจากสารกําจัดศัตรูพืช ซึ่งได้รับจากการสัมผัส สารกำจัดศัตรูพืช โดยจะเข้าสู่ร่างกาย ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ มีผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งขึ้นอยู่กับการที่เราได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณสารเคมีที่ได้รับ ทำให้เกิดพิษได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ถ้าได้รับในปริมาณมากๆทำให้เสียชีวิตได้ง่าย การที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการของโรคต่างๆขึ้นมา เช่น โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน โรคมะเร็ง มีผลต่อระบบประสาทและการทำงานของตับได้ เป็นต้น ประชาชนตำบลสมหวัง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำไร่ ทำนา ทำสวนผักและผลไม้ และยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธี ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพังกิ่งจึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของเกษตรกร และประชาชนที่มีการบริโภคผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกร เพื่อตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกร และเพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง และอันตรายต่อตับ ไต ที่มีผลมาจากสารเคมีในเลือดสูง เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคจากสารพิษตกค้างในเลือด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2.เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3.เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

-มีการจัดอบรมให้ความรู้ 1 ครั้ง
-ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด
-ผลการตรวจสารเคมีในละเลือด ครั้งที่ 2 มีผู้ที่เสี่ยงและไม่ปลอดภัยลดลงจากครั้งที่ 1 ร้อยละ 20

52.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,350.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มเป้าหมาย 0 4,050.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร 0 300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความเสี่ยงจากปัจจัยของการเกิดโรคมะเร็ง 2.กลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3.กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2566 09:40 น.