กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 67-3357-02-009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านนาโหนด
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,325.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุรศักดิ์ พิศพักตร์
พี่เลี้ยงโครงการ นางธมล มงคลศิลป์
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1,3,6,10 ตำบลนาโหนด อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1111 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

จำนวนประชากรทั้งหมด 4,134 คน
จำนวนประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และประชากรที่ได้รับผลกระทบจากประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 200 คน

4.80
2 จำนวนครัวเรือนที่ได้รับการควบคุม ป้องกัน การเกิดโรคไข้เลือดออก

จำนวนครัวเรือนในความรับผิดชอบทั้งหมด 1,223 ครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนในความรับผิดชอบที่ได้รับการควบคุม ป้องกัน การเกิดโรคไข้เลือดออก 1,223 ครัวเรือน

1,223.00
3 จำนวนผู้ปวยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในความรับผิดชอบ

จำนวนผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบในปี 2566 จำนวน 11 ราย

11.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกได้ดำเนินการมาทุกปี โดยมีแนวคิดให้ครัวเรือน มีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก รวมทั้งให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก ซึ่งจากผลการดำเนินการใน ปี 2566 ปรากฏว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จึงต้องทำควบคู่กันไปทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชนและโรงเรียน จึงจะมีผลในการป้องกันได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รพ.สต.บ้านนาโหนด รับผิดชอบประชากร 4,134 คน มีครัวเรือน 1,223 ครัวเรือน และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ในปี 2565 พบผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 247.18 ต่อแสนประชากร ในพื้นที่ในปี 2566 พบผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 11 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 259.47 ต่อแสนประชากรโดยพบผู้ป่วยทั้ง 4 หมู่บ้าน ซึ่งโครงการดังกล่าวทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการดูแลและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในครัวเรือนและชุมชน ชมรม อสม.รพสต.บ้านนาโหนด จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อให้ประชาชนในแต่ละครัวเรือนมีแรงจูงใจในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ้านเรือนของตนเองและร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ชุมชนหรือหมู่บ้านนั้นปลอดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งจะมีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด ได้รับการแก้ปัญหา ( ร้อยละ)

4.80 100.00
2 เพื่อให้ครัวเรือนในความรับผิดชอบ ได้รับการควบคุม ป้องก้น การเกิดโรคไข้เลือดออก

ครัวเรือนในความรับผิดชอบ  ได้รับการควบคุมม ป้องกัน การเกิดโรคไข้เลือดออก

1223.00 1223.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลง

11.00 8.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,325.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 เม.ย. 67 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก 0 3,425.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 รณรงค์ สำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กรณีก่อนเกิดโรค 0 16,500.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกกรณีเกิดโรค 0 13,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนที่ได้ดรับผลกระทบจากการเกิดโรคไข้เลือดออกได้รับการป้องกัน ควบคุมโรค ร้อยละ 100 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง โดยมีผุ้ป่วยไม่เกิน8 คน
ครัวเรือนมีกิจกรรมการกำจัดลูกน้ำยุงลาย อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2566 15:56 น.