กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1.นายสุรศักดิ์พิศพักตร์
2.นางทัศนีย์พรหมเศรษฐ์
3.นายผัน คงวงค์
4.นางอุบลแก้วงาม
5.นายวิโรจน์ แก้วหนู

หมู่ที่ 1, 3, 6, 10 ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

จำนวนประชากรทั้งหมด 4,134 คน
จำนวนประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และประชากรที่ได้รับผลกระทบจากประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 200 คน

4.80
2 จำนวนครัวเรือนที่ได้รับการควบคุม ป้องกัน การเกิดโรคไข้เลือดออก

จำนวนครัวเรือนในความรับผิดชอบทั้งหมด 1,223 ครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนในความรับผิดชอบที่ได้รับการควบคุม ป้องกัน การเกิดโรคไข้เลือดออก 1,223 ครัวเรือน

1,223.00
3 จำนวนผู้ปวยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในความรับผิดชอบ

จำนวนผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบในปี 2566 จำนวน 11 ราย

11.00

โครงการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกได้ดำเนินการมาทุกปี โดยมีแนวคิดให้ครัวเรือน มีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก รวมทั้งให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก ซึ่งจากผลการดำเนินการใน ปี 2566 ปรากฏว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จึงต้องทำควบคู่กันไปทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชนและโรงเรียน จึงจะมีผลในการป้องกันได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รพ.สต.บ้านนาโหนด รับผิดชอบประชากร 4,134 คน มีครัวเรือน 1,223 ครัวเรือน และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ในปี 2565 พบผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 247.18 ต่อแสนประชากร ในพื้นที่ในปี 2566 พบผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 11 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 259.47 ต่อแสนประชากรโดยพบผู้ป่วยทั้ง 4 หมู่บ้าน ซึ่งโครงการดังกล่าวทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการดูแลและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในครัวเรือนและชุมชน ชมรม อสม.รพสต.บ้านนาโหนด จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อให้ประชาชนในแต่ละครัวเรือนมีแรงจูงใจในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ้านเรือนของตนเองและร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ชุมชนหรือหมู่บ้านนั้นปลอดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งจะมีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด ได้รับการแก้ปัญหา ( ร้อยละ)

4.80 100.00
2 เพื่อให้ครัวเรือนในความรับผิดชอบ ได้รับการควบคุม ป้องก้น การเกิดโรคไข้เลือดออก

ครัวเรือนในความรับผิดชอบ  ได้รับการควบคุมม ป้องกัน การเกิดโรคไข้เลือดออก

1223.00 1223.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลง

11.00 8.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,111
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 1,111
ครัวเรือนในเขตรับผิดชอบ 1,223

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก อสม.จำนวน 65 คนโดยกำหนดการ ดังนี้
การเตรียมการ
1.สำรวจข้อมูล สถานการณ์โรคติดต่อ
2.ประสานงานทีมวิทยากร
3.จัดเตรียมเอกสาร
การดำเนินงาน
1.จัดอบรม ตามวันเวลา ที่กำหนด ตามแผน
2.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมการอบรม
3.ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
4.แจ้งแผนการออกปฏิบัติการเมื่อเกิดโรคติดต่อ
งบประมาณที่ใช้
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวน 65 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,625 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คนๆ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.อสม.เข้าร่วมการอบรม จำนวน 65 คน
ผลลัพธ์
1.อสม.ทราบขั้นตอนการดำเนินงานเมื่อเกิดการระบาดของโรค ในเขตพื้นที่ของตนเอง
2.อสม.มีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3425.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ สำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กรณีก่อนเกิดโรค

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ สำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กรณีก่อนเกิดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น วัด2 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง หมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน ในการบริหารจัดการ การกำจัดลูกน้ำยุงลายและเหล่าเพาะพันธ์ยุงลาย โดย อสม. ตั้งทีมสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย
โดยการจับสลากตรวจลูกน้ำยุงลายไขว้หมู่บ้านของ อสม. แต่ละหมู่บ้าน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย ยี่ห้อ 9 เอ็ม ขนาดบรรจุซอง 20 กรัม(1,250ซอง/ถัง) จำนวน 3 ถังๆ ละ 5,500 บาท เป็นเงิน 16,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ดำเนินการจัดกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ได้แก่ วัด 2 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง และครัวเรือน จำนวน 1,223 ครัวเรือน
ผลลัพธ์ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านชุมชน โรงเรียน วัด ลดต่ำลงกว่าเป้าหมายที่กำหนด(HI ไม่เกิน 10ค่า CI = 0 )

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกกรณีเกิดโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกกรณีเกิดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การดำเนินงานและควบคุมโรคเมื่อเกิดโรคไข้เลือดออก โดยทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว SRRT ในพื้นที่ รพ.สต.บ้านนาโหนด
ประสานขอความร่วมมือ จากภาคีเครือข่ายจาก เทศบาลตำบลนาโหนด ผู้นำชุมชน และเขตหลังคาเรือนรอบ ๆ บ้านผู้ป่วยรัศมีระยะ 100 เมตร
และชุมชน โรงเรียน วัด อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ โดยมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
1. บ้านที่เกิดโรคไข้เลือดออกเพื่อหาแนวทางรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
2. ดำเนินการควบคุมประกอบด้วย
2.1 ทีมสอบสวนโรคเพื่อหาประวัติการเดินทางเข้าออกในพื้นที่ก่อนป่วยของผู้ป่วยรายแรกและเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วยรายใหม่
2.2 ทีมสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายร่วมกับภาคเครือข่าย เทศบาลตำบลนาโหนด ผู้นำชุมชน และประชาชนทำการสำรวจ และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
แหล่งเพาะยุงลายและใส่สารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลานในวันแรกที่ได้รับการรายงานจาก ทีม SRRT อ.เมืองพัทลุง
2.3 ทีมพ่นหมอกควันกำจัดตัวแก่ลูกน้ำยุงลาย
- พ่นหมอกควันวันแรก ที่ได้รับการงานจากทีม SRRT อ.เมืองพัทลุง
- พ่นหมอกควันวันที่ 3 ที่ได้รับการงานจากทีม SRRT อ.เมืองพัทลุง
- พ่นหมอกควันวันที่ 7 ที่ได้รับการงานจากทีม SRRT อ.เมืองพัทลุง
3. เฝ้าระวังอาการของผู้ใกล้ชิดและเขตหลังคาเรือนรอบ ๆ บ้านผู้ป่วยรัศมีระยะ 100 เมตร อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์
โดยมีค่าใข้จ่าย ดังนี้
1.น้ำยา 9 เอ็มพลัส เดลต้าเมทริน (Deltamethrin) 0.5% W/V EC.บรรจุ 1000 ซีซี.สำหรับฉีดพ่นกำจัดยุง จำนวน 3 ขวดๆ 1,600บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2.Sketolene สกีโทลีน โลชั่นทากันยุงและแมลง ชนิดใส 40ml. จำนวน 100 ขวดๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท
3.สเปรย์ขวดพ่นยุงขนาด 300 ml.จำนวน 48 ขวดๆละ 75 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.บ้านเรือนที่มีประชาชนที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และบ้านเรือนที่มีรัศมีใกล้เคียงใน 100 เมตร ได้รับการควบคุมโรคโดยการฉีดพ่นยากำจัดยุง
2.ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้เลือดออกทุกครัวเรือย (1,223 ครัวเรือน)ได้รับการดูแลการสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
3.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านชุมชน โรงเรียน วัด ลดต่ำลงกว่าเป้าหมายที่กำหนด(HI ไม่เกิน 10ค่า CI = 0 )

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,325.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนที่ได้ดรับผลกระทบจากการเกิดโรคไข้เลือดออกได้รับการป้องกัน ควบคุมโรค ร้อยละ 100
อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง โดยมีผุ้ป่วยไม่เกิน8 คน
ครัวเรือนมีกิจกรรมการกำจัดลูกน้ำยุงลาย อย่างต่อเนื่อง


>