กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 67-L7257-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 15 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 179,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพลอยไพลิน อินทร์แก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 15 ก.ย. 2567 179,160.00
รวมงบประมาณ 179,160.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่ และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอหาดใหญ่ ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม – 19 กันยายน 2566 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,617 ราย และในตำบลคอหงส์ มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น จำนวน 209 ราย (ข้อมูลจาก ระบบเฝ้าระวัง 506 งานระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่)

งานป้องกันและควบคุมโรค ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ เฝ้าระวัง และเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออก และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำนักเรียนของโรงเรียน ภายในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะนำโรค

แกนนำนักเรียนของโรงเรียน ภายในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะนำโรค ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ประชาชนในชุมชน มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างน้อยร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการป้องกันและควบคุมโรคและสามารถรับสถานการณ์โรคได้อย่างทันท่วงที

มีวัสดุ อุปกรณ์พร้อมใช้งานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก กรณีเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง อย่างเพียงพอ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 179,160.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมฝึกอบรมสารวัตรปราบยุงลาย 0 43,160.00 -
??/??/???? กิจกรรมยับยั้ง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ 0 136,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำนักเรียนในโรงเรียน และประชาชนในพื้นที่ มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนในพื้นที่ เห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน
  4. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2567 11:19 น.