กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

นางพลอยไพลิน อินทร์แก้ว ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน

1. โรงเรียนสมัยศึกษา 2. โรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา (กองทัพบกอุปถัมภ์) 3. โรงเรียนเทศบาล 1 (เมืองคอหงส์) 4. โรงเรียน บ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) 5. โรงเรียนทวีรัตน์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

0.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่ และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอหาดใหญ่ ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม – 19 กันยายน 2566 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,617 ราย และในตำบลคอหงส์ มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น จำนวน 209 ราย (ข้อมูลจาก ระบบเฝ้าระวัง 506 งานระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่)

งานป้องกันและควบคุมโรค ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ เฝ้าระวัง และเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออก และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำนักเรียนของโรงเรียน ภายในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะนำโรค

แกนนำนักเรียนของโรงเรียน ภายในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะนำโรค ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ประชาชนในชุมชน มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างน้อยร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการป้องกันและควบคุมโรคและสามารถรับสถานการณ์โรคได้อย่างทันท่วงที

มีวัสดุ อุปกรณ์พร้อมใช้งานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก กรณีเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง อย่างเพียงพอ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมฝึกอบรมสารวัตรปราบยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรมสารวัตรปราบยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ฝึกอบรมสารวัตรปราบยุงลายอบรมให้ความรู้แกนนำนักเรียนของโรงเรียน ภายในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ 5 โรงเรียน ผู้เข้าร่วมทั้งหมด 50 คน
  1. โรงเรียนสมัยศึกษา จำนวน 10 คน
  2. โรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา (กองทัพบกอุปถัมภ์) จำนวน 10 คน
  3. โรงเรียนเทศบาล 1 (เมืองคอหงส์) จำนวน 10 คน
  4. โรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) จำนวน 10 คน
  5. โรงเรียนทวีรัตน์ จำนวน 10 คน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม (ผู้เข้าร่วมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง)
จำนวน 60 คน x 100 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง)
จำนวน 60 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
4. ค่าอุปกรณ์การอบรม ได้แก่ กระเป๋า สมุด ปากกา ไฟฉาย เป็นต้น
จำนวน 50 ชุด x 200 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
5. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 2 เมตร x 180 บาท เป็นเงิน 360 บาท
6. ค่าเกียรติบัตรพร้อมเคลือบ จำนวน 50 คน x 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
7. ค่าทรายอะเบท จำนวน 5 ถัง x 3,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
8. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ จำนวน 2 เล่ม x 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43160.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมยับยั้ง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมยับยั้ง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ยับยั้ง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

ค่าใช้จ่าย
ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรค
1. ค่าทรายอะเบท จำนวน 10 ถัง x 3,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
2. ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 5,000 ซอง x 8 บาท เป็นเงิน 40,000 บาท

ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์
1. น้ำยาพ่นยุง จำนวน 60 ขวด x 700 บาท เป็นเงิน 42,000 บาท
2. สเปรย์กำจัดยุง ชนิดกระป๋อง จำนวน 300 กระป๋อง x 80 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
136000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 179,160.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำนักเรียนในโรงเรียน และประชาชนในพื้นที่ มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนในพื้นที่ เห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
3. สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน
4. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก


>