กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมบ้าน เยียนใจ ชุมชนบ้านคอหงส์ 2
รหัสโครงการ 67-L7257-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 15 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ พ.ต.หญิงน้ำทิพย์ คงทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 15 ก.ย. 2567 10,420.00
รวมงบประมาณ 10,420.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชากรในค่ายเสนาณรงค์ มีกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี
0.00
2 ประชากรในค่ายเสนาณรงค์ ต้องการการดูแลเพิ่มเติม เช่น มารดาตั้งครรภ์ บุตรอายุ 0 – 3 ขวบ หรือผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี
0.00
3 ประชากรกลุ่มเปราะบางที่ต้องการ การดูแลพิเศษ เช่น กลุ่มทุพพลภาพ ติดเตียง และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาสุขภาพและอนามัยของบุคคลเป็นองค์ประกอบและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาศักยภาพของคนทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา การพัฒนาทางด้านสาธารณสุขจึงมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี การดูแลสุขภาพบุคคลแบบองค์รวมเป็นสิ่งสำคัญ องค์การอนามัยโลกรายงานว่ากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการตายเพิ่มมากที่สุดจาก 33.4 เพิ่มเป็น 40.9 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ โรคหัวใจขาดเลือด จาก 22.4 เป็น 27.8 ต่อแสนประชากร ข้อมูลจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานว่าประเทศไทยมีจำนวนคนพิการทั้งสิ้น 2.1 ล้านคน ผู้ป่วยที่มีความพิการแต่ละประเภทมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีผู้ป่วยบางรายเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จนนำไปสู่ความพิการได้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรในกลุ่มแม่และเด็ก ถือเป็นเป้าหมายหนึ่งที่มีความสำคัญของการพัฒนาด้านสาธารณสุข งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรที่ควรได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ในเขตพื้นที่ค่ายเสนาณรงค์ จากผลการตรวจร่างกายประจำปีกำลังพลและประวัติการรับบริการในโรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์ในกลุ่มครอบครัว พบว่าอัตราการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี เกิดการเสียชีวิตของกำลังพลที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงหรือพิการทางการเคลื่อนไหว อีกทั้งยังมีผู้ป่วยสภาพทางจิตใจ อยู่ในภาวะเครียดสูงทั้งตัวบุคคล หรือผู้ดูแล(care giver) และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เด็กอายุ 0 – 3 ปีรวมไปถึงบุตรที่ต้องการพิเศษควรได้รับการดูแลอย่างเนื่อง เสริมสร้างทักษะและพัฒนาการให้เหมาะสมแก่กลุ่มเด็กเหล่านี้ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ควรตระหนักและส่งเสริมความสำคัญ ของประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเสริมพลังครอบครัว ชุมชน สังคมให้ร่วมมือกันเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ

จากการสำรวจผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, ผู้ป่วยทุพพลภาพ,กลุ่มภาวะเครียด, หญิงตั้งครรภ์, เด็กอายุ 0–3 ปี และบุตรที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดควรได้รับการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และจำเป็นต้องได้รับการดูแล การให้คำแนะนำ และการติดตามการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น การเยี่ยมบ้านถือว่าเป็นการประเมินสุขภาพของประชาชนและการป้องกันโรคแทรกซ้อน เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการให้บริการสาธารณสุข กิจกรรมหลักคือ การสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการของโรคได้ และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะอยู่บ้าน

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและภาวะเครียดสามารถควบคุมอาการของโรคให้อยู่ในเกณฑ์ได้ ร้อยละ 100

0.00 0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอดไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถดูแลตนเองและทารก หลังคลอดได้ถูกต้อง

หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดไม่มีภาวะซึมเศร้า ภาวะแทรกซ้อน และสามารถดูแลตัวเองได้ ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 3 ปี มีพัฒนาการที่ดี ร่างกายแข็งแรง เหมาะสมตามวัย

เด็กอายุ 0 – 3 ปี มีพัฒนาการที่ดี ร่างกายแข็งแรง เหมาะสมตามวัย ร้อยละ 100

0.00
4 บุตรที่มีความต้องการพิเศษสามารถเข้าถึงแหล่งสิทธิประโยชน์ และช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันเบื้องต้นได้

บุตรที่มีความต้องการพิเศษสามารถเข้าถึงแหล่งสิทธิประโยชน์ และช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันเบื้องต้นได้ ร้อยละ 80

0.00
5 ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง สร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ป่วยทุพพลภาพ ให้พร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขและเข้าถึงด้านได้ง่าย

ผู้ป่วย และผู้ดูแลมีความพึงพอใจในโครงการ ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,420.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมเยี่ยมบ้านชุมชนบ้านคอหงส์ 2 0 10,420.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยทุพพลภาพ หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุ 0 – 3 ปี และบุตรที่มีความต้องการพิเศษ ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ และสังคม ให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีขึ้น
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถควบคุมอาการของโรคได้ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และไม่เกิดอาการกำเริบเฉียบพลันขณะอยู่บ้าน
  3. เด็กอายุ 0 – 3 ปี มีพัฒนาการที่ถูกต้องสมวัย ร่างกายแข็งแรง
  4. บุตรที่มีความต้องการพิเศษสามารถเข้าถึงแหล่งสิทธิประโยชน์ และช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันเบื้องต้นได้
  5. ญาติหรือผู้ดูแลมีส่วนร่วม และไม่เกิดความเครียดในการดูแลผู้ป่วย
  6. ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง และเข้าถึงได้ง่าย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2567 21:13 น.