กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยี่ยมบ้าน เยียนใจ ชุมชนบ้านคอหงส์ 2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

โรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์

พ.ต.หญิง น้ำทิพย์ คงทอง ตำแหน่ง พยาบาลหัวหน้าฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ

ค่ายเสนาณรงค์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ๋ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชากรในค่ายเสนาณรงค์ มีกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี

 

0.00
2 ประชากรในค่ายเสนาณรงค์ ต้องการการดูแลเพิ่มเติม เช่น มารดาตั้งครรภ์ บุตรอายุ 0 – 3 ขวบ หรือผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี

 

0.00
3 ประชากรกลุ่มเปราะบางที่ต้องการ การดูแลพิเศษ เช่น กลุ่มทุพพลภาพ ติดเตียง และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

 

0.00

การพัฒนาสุขภาพและอนามัยของบุคคลเป็นองค์ประกอบและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาศักยภาพของคนทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา การพัฒนาทางด้านสาธารณสุขจึงมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี การดูแลสุขภาพบุคคลแบบองค์รวมเป็นสิ่งสำคัญ องค์การอนามัยโลกรายงานว่ากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการตายเพิ่มมากที่สุดจาก 33.4 เพิ่มเป็น 40.9 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ โรคหัวใจขาดเลือด จาก 22.4 เป็น 27.8 ต่อแสนประชากร ข้อมูลจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานว่าประเทศไทยมีจำนวนคนพิการทั้งสิ้น 2.1 ล้านคน ผู้ป่วยที่มีความพิการแต่ละประเภทมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีผู้ป่วยบางรายเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จนนำไปสู่ความพิการได้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรในกลุ่มแม่และเด็ก ถือเป็นเป้าหมายหนึ่งที่มีความสำคัญของการพัฒนาด้านสาธารณสุข งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรที่ควรได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ในเขตพื้นที่ค่ายเสนาณรงค์ จากผลการตรวจร่างกายประจำปีกำลังพลและประวัติการรับบริการในโรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์ในกลุ่มครอบครัว พบว่าอัตราการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี เกิดการเสียชีวิตของกำลังพลที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงหรือพิการทางการเคลื่อนไหว อีกทั้งยังมีผู้ป่วยสภาพทางจิตใจ อยู่ในภาวะเครียดสูงทั้งตัวบุคคล หรือผู้ดูแล(care giver) และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เด็กอายุ 0 – 3 ปีรวมไปถึงบุตรที่ต้องการพิเศษควรได้รับการดูแลอย่างเนื่อง เสริมสร้างทักษะและพัฒนาการให้เหมาะสมแก่กลุ่มเด็กเหล่านี้ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ควรตระหนักและส่งเสริมความสำคัญ ของประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเสริมพลังครอบครัว ชุมชน สังคมให้ร่วมมือกันเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ

จากการสำรวจผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, ผู้ป่วยทุพพลภาพ,กลุ่มภาวะเครียด, หญิงตั้งครรภ์, เด็กอายุ 0–3 ปี และบุตรที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดควรได้รับการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และจำเป็นต้องได้รับการดูแล การให้คำแนะนำ และการติดตามการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น การเยี่ยมบ้านถือว่าเป็นการประเมินสุขภาพของประชาชนและการป้องกันโรคแทรกซ้อน เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการให้บริการสาธารณสุข กิจกรรมหลักคือ การสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการของโรคได้ และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะอยู่บ้าน

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและภาวะเครียดสามารถควบคุมอาการของโรคให้อยู่ในเกณฑ์ได้ ร้อยละ 100

0.00 0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอดไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถดูแลตนเองและทารก หลังคลอดได้ถูกต้อง

หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดไม่มีภาวะซึมเศร้า ภาวะแทรกซ้อน และสามารถดูแลตัวเองได้ ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 3 ปี มีพัฒนาการที่ดี ร่างกายแข็งแรง เหมาะสมตามวัย

เด็กอายุ 0 – 3 ปี มีพัฒนาการที่ดี ร่างกายแข็งแรง เหมาะสมตามวัย ร้อยละ 100

0.00
4 บุตรที่มีความต้องการพิเศษสามารถเข้าถึงแหล่งสิทธิประโยชน์ และช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันเบื้องต้นได้

บุตรที่มีความต้องการพิเศษสามารถเข้าถึงแหล่งสิทธิประโยชน์ และช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันเบื้องต้นได้ ร้อยละ 80

0.00
5 ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง สร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ป่วยทุพพลภาพ ให้พร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขและเข้าถึงด้านได้ง่าย

ผู้ป่วย และผู้ดูแลมีความพึงพอใจในโครงการ ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเยี่ยมบ้านชุมชนบ้านคอหงส์ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเยี่ยมบ้านชุมชนบ้านคอหงส์ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุดจัดแนวทางโครงการเยี่ยมบ้าน ชุมชนบ้านคอหงส์ 2
  • กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
  • จัดเตรียมอุปกรณ์เยี่ยมบ้าน แผ่นพับให้ความรู้
  • ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน สุขภาพผู้ป่วยในชุมชน ประเมินสุขภาพผู้ป่วย และภาวะจิตใจผู้ดูแล
  • ทีมสหวิชาชีพ จำนวน 7 คน ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร โภชนากร นักสาธารณสุข ผู้ช่วยพยาบาล พลขับ
  • เยี่ยมบ้าน เดือนละ 2 ครั้ง ทั้งหมด 24 ครั้ง
  • ติดตามผลทุกระยะตามภาวะสุขภาพ
  • ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 7 คน x 35 บาท x 24 มื้อ เป็นเงิน 5,880 บาท
2. ค่ากระเป๋าผ้า จำนวน 30 ใบ x 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 3 เมตร x 180 บาท เป็นเงิน 540 บาท
4. ค่าเอกสารสรุปโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10420.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,420.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยทุพพลภาพ หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุ 0 – 3 ปี และบุตรที่มีความต้องการพิเศษ ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ และสังคม ให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีขึ้น
2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถควบคุมอาการของโรคได้ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และไม่เกิดอาการกำเริบเฉียบพลันขณะอยู่บ้าน
3. เด็กอายุ 0 – 3 ปี มีพัฒนาการที่ถูกต้องสมวัย ร่างกายแข็งแรง
4. บุตรที่มีความต้องการพิเศษสามารถเข้าถึงแหล่งสิทธิประโยชน์ และช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันเบื้องต้นได้
5. ญาติหรือผู้ดูแลมีส่วนร่วม และไม่เกิดความเครียดในการดูแลผู้ป่วย
6. ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง และเข้าถึงได้ง่าย


>