กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "แค่ขยับเท่ากับออกกำลังกาย" (Aerobic Exercise)
รหัสโครงการ 67-L7257-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 15 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 40,140.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ พ.ต.หญิงน้ำทิพย์ คงทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 15 ก.ย. 2567 40,140.00
รวมงบประมาณ 40,140.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ค้นพบกำลังพลที่มีค่า BMI ≥ 30 จำนวน 9 นาย คิดเป็นร้อยละ 8.18 จากจำนวนทั้งหมด 110 นาย
0.00
2 ค้นพบกำลังพลที่มีค่า BMI ≥ 25 - 29.9 จำนวน 26 นาย คิดเป็นร้อยละ 23.63 จากจำนวนทั้งหมด 110 นาย
0.00
3 พบว่ากลุ่มกำลังพลที่มีค่า BMI เกิน เสี่ยงป่วยด้วยโรคเรื้อรัง คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วนลงพุง
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการตรวจคัดกรองสุขภาพของรพ.ค่ายเสนาณรงค์ ประจำปี 2566 มีกำลังพลทั้งหมด จำนวน 110 นาย พบว่า กำลังพลที่มีค่า BMI ≥ 30 จำนวน 9 นาย คิดเป็นร้อยละ 8.18, กำลังพลที่มีค่า BMI ≥ 25 - 29.9จำนวน 26 นาย คิดเป็นร้อยละ 23.63 และกำลังพลที่มีค่า BMI ≥ 18 - 24.9 จำนวน 73 นาย คิดเป็นร้อยละ 66.36 ค่าผลการคัดกรอง พบว่า กำลังพลที่เสี่ยงป่วยด้วยโรคเรื้อรัง คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วนลงพุง ปัจจุบันสถานการณ์ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีตัวเลขที่พุ่งขึ้นสูง เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง การไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้นทุกปี การจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ปรับพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการออกกำลังกายในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินที่ถูกต้อง เน้นที่การปฏิบัติโดยส่งเสริมให้กำลังพลกลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ผลสำเร็จของการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเกิด ผลลัพธ์พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว และลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ

ดังนั้น รพ.ค่ายเสนาณรงค์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพให้กับกำลังพล จึงได้จัดทำโครงการ “แค่ขยับเท่ากับออกกำลังกาย”(Aerobic Exercise) ขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มกำลังพลที่มีค่า BMI ≥ 30 ตามนโยบาย ทภ.4 ให้มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ลดภาวะเสี่ยงต่อโรค อีกทั้งยังสามารถดูแล และกระตุ้นคนใกล้ชิดให้มีภาวะสุขภาพที่ดี ห่างไกลโรคอ้วน อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กำลังพลมีพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น พฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมการออกกำลังกาย

อัตรากำลังพลที่เข้าร่วมร่วมโครงการ “แค่ขยับเท่ากับออกกำลังกาย”(Aerobic Exercise) คิดเป็นร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้กำลังพลที่มีค่า BMI ≥ 30 สามารถลดค่า BMI ลงจากเดิมได้

อัตรากำลังพลที่มีค่า BMI ≥30 สามารถลดค่า BMI ลงได้ 1 BMI (ประมาณ ๓ กก.) หรือลดลงจากเดิม คิดเป็นร้อยละ 50

0.00
3 เพื่อให้กำลังพลที่มีค่า BMI ≥ 25 สามารถลดค่า BMI ลงจากเดิมได้

อัตรากำลังพลที่มีค่า BMI ≥25 สามารถลดค่า BMI ลงได้ 1 BMI (ประมาณ ๓ กก.) หรือลดลงจากเดิม คิดเป็นร้อยละ 50

0.00
4 เพื่อให้กำลังพลพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ “แค่ขยับเท่ากับออกกำลังกาย”(Aerobic Exercise)

กำลังพลมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ “แค่ขยับเท่ากับออกกำลังกาย”(Aerobic Exercise) คิดเป็นร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,140.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ 0 21,140.00 -
??/??/???? กิจกรรมส่งเสริมกรออกกำลังกาย 0 19,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กำลังพลที่มีค่า BMI ≥ 30 สามารถลดค่า BMI ลงได้ 1 BMI (ประมาณ 3 ก.ก.) หรือ มีรอบเอว ลดลงจากเดิม และไม่เพิ่มขึ้น
  2. กำลังพลมีพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น พฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมการออกกำลังกาย
  3. กำลังพลมีทักษะในการควบคุมกำกับการลดน้ำหนักอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีพฤติกรรมการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และลดภาวะเสี่ยงต่อโรค อีกทั้งยังสามารถดูแล และกระตุ้นคนใกล้ชิดให้มีภาวะสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคอ้วน
  4. กำลังพลมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ “แค่ขยับเท่ากับออกกำลังกาย”(Aerobic Exercise) ตามเป้าหมายที่วางไว้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2567 10:38 น.