กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค้นหาและเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตในประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 67-L3350-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน
วันที่อนุมัติ 23 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 60,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประภาส สงบุตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
45.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายเรื้อรัง หัวใจล้มเหลวและสมองเสื่อม นอกจากนี้ ระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก เลือดออกในสมอง(Hemorrhagicstroke) หลอดเลือดหัวใจตีบตันเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันหรือหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด โรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสเหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ 3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลก สาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก
ปัจจุบันพบว่าอัตราความชุกของ โรคความดันโลหิตสูง เครือข่ายบริการสุขภาพ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการผู้ป่วยนอก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีเช่นกัน จากการจัดลำดับความชุก 10 อันดับโรคของผู้รับบริการพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จัดอยู่ในอันดับที่ 1 และ พบจำนวนสูงสุดในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 60 ปี ขึ้นไป รองลงมาพบในกลุ่มอายุ 40-60 ปี และพบจำนวนน้อยในช่วงอายุน้อยกว่า40 ปี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบโรคแทรกซ้อนร้อยละ 55.77 และยังพบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ต้องเข้านอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อีกเป็นจจำนวนมาก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

45.00 30.00
2 1. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากค่าความดันที่วัดได้ในแต่ละวัน

45.00 45.00
3 เพื่อติดตามระดับความดันโลหิตที่บ้าน

ร้อยละประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามระดับความดันโลหิตที่บ้าน

45.00 45.00
4 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที และป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ร้อยละประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

45.00 45.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 60,000.00 0 0.00
8 ม.ค. 67 1. ค้นหากลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -
9 ม.ค. 67 แนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน 0 0.00 -
10 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วยการวัดความดันที่บ้าน 0 60,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีเครื่องวัดความดันโลหิตในหมู่บ้าน สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ทันที 2.กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตตามเกณฑ์ที่กำหนด
3.กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาตามมาตรฐาน 4.ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2567 15:01 น.