กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 3 วัย 3 สถาบัน 3 พลัง สู่สุขภาวะคอหงส์ที่ยั่งยืน
รหัสโครงการ 67-L7257-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 15 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 48,025.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รศ.ดร. กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 48,025.00
รวมงบประมาณ 48,025.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชนที่มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)ได้มุ่งเน้นด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ซึ่งรวมถึงช่วงวัยเรียน และการตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย โดยการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมผ่านการเลี้ยงดูในครอบครัว ระบบสถานศึกษา สภาพแวดล้อม จากยุทธศาสตร์ดังกล่าว นำมาซึ่งการจัดทำโครงการ “เด็กไทยยุคใหม่หัวใจกตัญญูเพื่อสุขภาวะผู้สูงวัย” โดยมีโรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา

ความกตัญญูเป็นรากฐานสำคัญของชีวิต เป็นพื้นฐานในการพัฒนาเยาวชน เป็นค่านิยมและวัฒนธรรม ที่ควรได้รับการปลูกฝัง เพราะนำมาซึ่งการส่งเสริมการมีสุขภาพดี การมีชีวิตที่มีความสุข และสมดุล ความรู้สึกอิ่มเอมใจ ความรู้สึกอบอุ่นใจ และมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นเครื่องเหนี่ยวนำให้เยาวชนค้นพบเป้าหมายชีวิต ลดพฤติกรรมเสี่ยง เพิ่มการมีจิตอาสา และดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย

ประเทศไทยได้ก้าวสู่การเป็นประเทศภาวะประชากรผู้สูงอายุ (population aging) หรือประเทศที่มีประชากรอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมดและคาดว่าจะมีประชากรเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ปีละประมาณ 1 ล้านคน โดยผู้สูงอายุบางรายเป็นวัยที่ร่างกายเริ่มเสื่อมถอยและเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรคซึมเศร้า ซึ่งสาเหตุสำคัญของโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุ คือ สัมพันธภาพในครอบครัว และโรคเหล่านี้ส่งผลกระทบทางกาย เช่น น้ำหนักลด นอนไม่หลับ ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง และมีภาวะทุพพลภาพ (disability) และส่งผลกระทบต่อจิตสังคมและจิตวิญญาณ เช่น ท้อแท้ สิ้นหวังและไม่มีคุณค่า คิดร้ายต่อตนเอง คุณภาพชีวิตต่ำลง และนำไปสู่การทำร้ายตนเอง ซึ่งภาวะทุพพลภาพจะพบมากยิ่งขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ผู้สูงอายุไทยที่อยู่ตามลำพังเพียงคนเดียว มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากร้อยละ 6 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 11 ในปี 2560 สัดส่วนผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังเหล่านี้อาจจัดอยู่ในกลุ่มประชากรเปราะบางได้ ปัญหาของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพังที่พบมากที่สุด คือ รู้สึกเหงา

ดังนั้นการส่งเสริมให้เยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ย่อมมีความสำคัญในการเพิ่มความสุขและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันยังเป็นกระบวนการสำคัญที่หล่อหลอมจิตพฤติกรรมจริยธรรม คุณธรรม และความกตัญญูแก่เยาวชนด้วย ดังนั้นผู้จัดจึงได้จัดโครงการ “3 วัย 3 สถาบัน 3 พลัง สู่สุขภาวะคอหงส์ที่ยั่งยืน” ขึ้น ซึ่ง 3 วัย ประกอบด้วย วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ 3 สถาบัน ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา (กองทัพบกอุปถัมภ์) โรงเรียนบ้านคลองหวะ และประธาน อสม. และอสม.ชุมชนคลองเตย 6 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเสริมความกตัญญูแก่เยาวชน ทั้งความกตัญญูต่อตนเอง ต่อบุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อม 2) พัฒนาศักยภาพด้านความรู้และทักษะของเยาวชน ในการดูแลผู้สูงอายุด้วยหัวใจและจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ 3) ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยหัวใจและจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์จากเยาวชนและมีความสุขในชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ และผู้พึ่งพิงด้วยหัวใจกตัญญูและจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์

ร้อยละ 100 ของเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะ ในการดูแลผู้สูงอายุด้วยหัวใจกตัญญูและจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ (40 คน)

0.00
2 ผู้สูงอายุและผู้พึ่งพิงได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจากนักเรียน

ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจากนักเรียน (10 คน)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48,025.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมประชุมคณะทำงาน 0 1,775.00 -
??/??/???? กิจกรรมการปลูกฝังความกตัญญู และคุณสมบัติที่ดีของผู้ดูแล 0 5,050.00 -
??/??/???? กิจกรรมการปลูกฝังความมีคุณค่าในตนเอง 0 7,800.00 -
??/??/???? อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะ การดูแลสุขภาพกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณแก่นักเรียนในการดูแลผู้สูงอายุด้วยหัวใจกตัญญูและจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ 0 33,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุด้วยหัวใจและจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ (40 คน)
  2. ผู้สูงอายุ และผู้พึ่งพิง ได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยหัวใจและจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์จากเยาวชนบริบาล (10 คน)
  3. นักเรียนสามารถเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลอื่น เช่น สมาชิกในครอบครัว
  4. โรงเรียนมีรูปแบบในการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความกตัญญูแก่นักเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2567 18:15 น.