โครงการเด็ก 0-5 ปี โภชนาการดี มีภูมิคุ้มกัน พัฒนาการตามวัย ปี2567
ชื่อโครงการ | โครงการเด็ก 0-5 ปี โภชนาการดี มีภูมิคุ้มกัน พัฒนาการตามวัย ปี2567 |
รหัสโครงการ | 67-L3069-10(1)-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ |
วันที่อนุมัติ | 21 พฤษภาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 14 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฮานีซะ แวสอเฮาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | เขตพื้นที่ตำบลปุโละปุโย |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.ย. 2566 | 30 ก.ย. 2567 | 0.00 | |||
รวมงบประมาณ | 0.00 |
คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (40,000.00 บาท)
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม | 12.86 | ||
2 | ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน | 13.57 | ||
3 | ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย | 14.22 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การส่งเสริมพัฒนาการ 0-5ปี อย่างเต็มศักยภาพ จะทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ถึงแม้ครอบครัวจะมีบทบาทหลักในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก แต่ต้องได้รับความร่วมมือกับภาครัฐด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะหน่วยงานด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ต้องทำงานอย่างเป็นระบบรูปธรรม สอดคล้องและเกื้อหนุนกัน ในปัจจุบันนโยบายในการดูแล เด็ก0-5ปี มีความชัดเจนมากขึ้น การมีโภชนาการที่ดี การได้รับสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์ การเฝ้าระวังและติดตามพัฒนาการตามวัยซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างให้เด็กเติบโตเต็มศักยภาพ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
จากสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในช่วงอายุแรกเกิดถึง 5ปี ของจังหวัดปัตตานี จากข้อมูลพื้นฐาน Healt data center (HDC) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี พบว่า ยังไม่ได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย ภาวะโภชนาการในปี 2561-2565 ที่ผ่านมา สูงดีสมส่วนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2561-2563 คือ ร้อยละ 53.3, 64.5 และ 66.5 ตามลำดับ และในปี 2564-2565 มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 66.4 เป็นร้อยละ59.3, 58.1 ตามลำดับ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ในปัตตานีคือ เด็กเตี้ยร้อยละ 14.6 รองลงมา เด็กผอมร้อยละ 4.9 และเด็กอ้วนร้อยละ 4.9 จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการอำเภอหนองจิกในช่วงปีที่ 2561 – 2565 ที่ผ่านมาพบว่า เด็กมีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์สูงดีสมส่วนมีแนวโน้มเพิ่มตั้งแต่ปี 2561 – 2564 คือร้อยละ 54.8, 70.2, 72.9 และ 79.4 ตามลำดับ และในปี 2565 มีแนวโน้มลดลงจากเดิม ร้อยละ 79.4 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 73.0 ในปี 2565 ซึ่งเป็นปัญหาส่วนใหญ่ในอำเภอหนองจิก คือ เด็กผอมร้อยละ 5.6 รองลงมาเด็กเตี้ย ร้อยละ 9.8 และเด็กอ้วนร้อยละ 1.9
ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-4 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ ปี พ.ศ.2564-2566 พบว่า เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 14.22 , 12.86 และ 13.57 ตามลำดับ (ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกินร้อยละ 9) ซึ่งภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์จะส่งผลกระทบและก่อให้เกิดผลเสีย ได้แก่เชาว์ปัญญาต่ำ พัฒนาการช้า เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โครงการของร่างกายแคระแกร่น ภาวะโลหิตจาง สายตาบกพร่องเนื่องจากขาดวิตามินเอ เป็นต้น และอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการแก้ไขภาวะโภชนาการเด็กให้มีโภชนาการสมวัยการแก้ไขปัญหาโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขภาวะโภชนาการเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ จึงได้จัดทำโครงการนี้ เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปีมีภาวะโภชนาการดี มีภูมิคุ้มกัน พัฒนาการตามวัย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค พัฒนาการ เด็ก 0-5 ปี ร้อยละ 60 |
50.00 | 60.00 |
2 | เพื่อเฝ้าระวังและติดตาม ภาวะโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค พัฒนาการ เด็ก 0-5 ปี ร้อยละ 60 |
44.00 | 60.00 |
3 | เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะซีดในเด็ก 0-5 ปี เด็กที่มีภาวะซีดได้รับยาเสริมธาตุเหล็กตามแผนการรักษา ร้อยละ 60 |
34.44 | 60.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | 1.ประชุมอสม. ผู้นำชุมชน ชี้แจงโครงการรูปแบบการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์โครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | ประสานงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง | 0 | 0.00 | - | ||
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | จัดเตรียมสถานที่และจัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย | 0 | 0.00 | - | ||
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | ประสานชี้แจงผู้ปกครองและเด็ก 0-5 ปี | 0 | 0.00 | - | ||
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรืองโภชนการ ภาวะซีด การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการคัดกรองพัฒนาการตามวัย | 0 | 13,500.00 | - | ||
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมติดตามภาวะโภชนาการ ภาวะซีดหลังการอบรม | 0 | 5,600.00 | - | ||
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และค้นหาสาเหตุ จากผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี เรื่องภาวะโภชนาการ โรคโลหิตจาง สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และการตรวจพัฒนาการตามวัย 5 ด้าน | 0 | 9,900.00 | - | ||
2 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | จัดทำป้ายไวนิลโครงการเด็ก 0-5 ปี โภชนาการดี มีภูมิคุ้มกัน พัฒนาการตามวัย ปี2567 และจัดวัสดุอุปกรณ์ ตลอดระยะเวลาทำกิจกรรม | 0 | 1,100.00 | - | ||
2 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | สรุปโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
2 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | คืนข้อมูลแก่ผู้ปกครอง เด็กอายุ 0-5 ปี และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หลังจบกิจกรรม | 0 | 9,900.00 | - | ||
รวม | 0 | 40,000.00 | 0 | 0.00 |
- ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ในการส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ ภาวะโรคโลหิตจาง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และเฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง
- เด็ก 0-5 ปีได้รับการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและได้รับการเฝ้าระวังโรคโลหิตจาง 3.เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการอ้วน น้อยลง 4.เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการผอม น้อยลง 5.เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการสมส่วนเพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2567 09:45 น.