2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การส่งเสริมพัฒนาการ 0-5ปี อย่างเต็มศักยภาพ จะทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ถึงแม้ครอบครัวจะมีบทบาทหลักในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก แต่ต้องได้รับความร่วมมือกับภาครัฐด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะหน่วยงานด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ต้องทำงานอย่างเป็นระบบรูปธรรม สอดคล้องและเกื้อหนุนกัน ในปัจจุบันนโยบายในการดูแล เด็ก0-5ปี มีความชัดเจนมากขึ้น การมีโภชนาการที่ดี การได้รับสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์ การเฝ้าระวังและติดตามพัฒนาการตามวัยซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างให้เด็กเติบโตเต็มศักยภาพ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
จากสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในช่วงอายุแรกเกิดถึง 5ปี ของจังหวัดปัตตานี จากข้อมูลพื้นฐาน Healt data center (HDC) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี พบว่า ยังไม่ได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย ภาวะโภชนาการในปี 2561-2565 ที่ผ่านมา สูงดีสมส่วนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2561-2563 คือ ร้อยละ 53.3, 64.5 และ 66.5 ตามลำดับ และในปี 2564-2565 มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 66.4 เป็นร้อยละ59.3, 58.1 ตามลำดับ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ในปัตตานีคือ เด็กเตี้ยร้อยละ 14.6 รองลงมา เด็กผอมร้อยละ 4.9 และเด็กอ้วนร้อยละ 4.9 จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการอำเภอหนองจิกในช่วงปีที่ 2561 – 2565 ที่ผ่านมาพบว่า เด็กมีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์สูงดีสมส่วนมีแนวโน้มเพิ่มตั้งแต่ปี 2561 – 2564 คือร้อยละ 54.8, 70.2, 72.9 และ 79.4 ตามลำดับ และในปี 2565 มีแนวโน้มลดลงจากเดิม ร้อยละ 79.4 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 73.0 ในปี 2565 ซึ่งเป็นปัญหาส่วนใหญ่ในอำเภอหนองจิก คือ เด็กผอมร้อยละ 5.6 รองลงมาเด็กเตี้ย ร้อยละ 9.8 และเด็กอ้วนร้อยละ 1.9
ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-4 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ ปี พ.ศ.2564-2566 พบว่า เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 14.22 , 12.86 และ 13.57 ตามลำดับ (ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกินร้อยละ 9) ซึ่งภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์จะส่งผลกระทบและก่อให้เกิดผลเสีย ได้แก่เชาว์ปัญญาต่ำ พัฒนาการช้า เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โครงการของร่างกายแคระแกร่น ภาวะโลหิตจาง สายตาบกพร่องเนื่องจากขาดวิตามินเอ เป็นต้น และอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการแก้ไขภาวะโภชนาการเด็กให้มีโภชนาการสมวัยการแก้ไขปัญหาโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขภาวะโภชนาการเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ จึงได้จัดทำโครงการนี้ เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปีมีภาวะโภชนาการดี มีภูมิคุ้มกัน พัฒนาการตามวัย
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2023
กำหนดเสร็จ 30/09/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
หมายเหตุค่าใช้จ่ายในโครงการสามารถปรับเฉลี่ยได้ทุกรายการตามที่จ่ายจริง
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ในการส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ ภาวะโรคโลหิตจาง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และเฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง
2. เด็ก 0-5 ปีได้รับการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและได้รับการเฝ้าระวังโรคโลหิตจาง
3.เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการอ้วน น้อยลง
4.เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการผอม น้อยลง
5.เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการสมส่วนเพิ่มขึ้น