กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิตพิชิตโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน ปี2567
รหัสโครงการ 67-L3069-10(1)-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮานีซะ แวสอเฮาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เขตพื้นที่ตำบลปุโละปุโย
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
11.33
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
13.61
3 กลุ่มป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
46.19

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนทุกภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนปัตตานีมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่นและได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนปัตตานีแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี2566เป้าหมายประชากร 15 ปีขึ้นไป จำนวน 1,661 คน คัดกรองได้ 875 คน คิดเป็นร้อยละ 52.67 แยกเป็น กลุ่มประชากร 35ปีขึ้นไปเป้าหมาย คัดกรองเบาหวาน 939 คน คัดกรองได้867คนคิดเป็นร้อยละ92.33พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 13.61 กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 1.37ผู้ป่วยรายใหม่12 คน คิดเป็นร้อยละ 1.37 และคัดกรองความดันโลหิตสูง786 คน คิดเป็นร้อยละ 92.31 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 11.33 กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 3.12 ผู้ป่วยรายใหม่ 24 คน คิดเป็นร้อยละ 3.12 และกลุ่มป่วยเบาหวานควบคุมได้เกณฑ์ ร้อยละ40กลุ่มป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมได้ ร้อยละ60 ปี2566 พบว่ากลุ่มป่วยเบาหวาน จำนวน 92 คนสามารถควบคุมได้ 10คนคิดเป็นร้อยละ10.87 กลุ่มป่วยความดันโลหิตสูง 210คนสามาถควบคุมได้97คน คิดเป็นร้อยละ46.19
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ2567 ขึ้นโดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง และลดภาวะแทกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

13.61 1.00
2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอยู่ในเกณฑ์ปกติและกลุ่มป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถควบคุมได้

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติและควบคุมได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

46.19 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,000.00 0 0.00
1 ก.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 -
1 - 6 มี.ค. 67 การสร้างแกนนำวิทยากรและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 0.00 -
1 มี.ค. 67 จัดซื้อจัดทำป้ายไวนิล วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนจัดเตรียมสถานที่สำหรับจัดกิจกรรม 0 2,350.00 -
18 เม.ย. 67 การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง และการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเสี่ยง 0 17,600.00 -
16 พ.ค. 67 กิจกรรมติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสียง ครั้งที่ 1 เมื่อครบ 1 เดือน 0 3,500.00 -
22 ส.ค. 67 ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสียง ครั้งที่ 2 เมื่อครบกำหนด 4 เดือน( ครั้งที่1 กับครั้งที่ 2ห่างกัน 3เดือน) 0 3,500.00 -
5 ก.ย. 67 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคัดเลือกบุคคลต้นแบบ โดยให้ผู้ที่เป็นบุคคลต้นแบบมาเล่าประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองพร้อมมอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 0 8,050.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ 2.กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน 3. มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน 4. เกิดนวัตกรรมสุขภาพในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2567 12:58 น.