กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัย
รหัสโครงการ 67-L5190-3-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเทพา
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2567 - 29 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,062.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเทพา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.827196,100.968003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กและเยาวชน
130.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจมน้ำเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งสูงมากกว่าการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ และสูงมากกว่าอุบัติเหตุจากการจราจรถึง 2 เท่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักเกิดจากการเผอเรอชั่วขณะของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก เช่น รับโทรศัพท์ เปิด-ปิด ประตูบ้าน ทำกับข้าว ซึ่งบางครั้งไม่คิดว่าแหล่งน้ำในภาชนะในบ้านจะทำให้เด็กจมน้ำได้ เนื่องจากเด็กเล็กมีการทรงตัวไม่ดี จึงทำให้ล้มในท่าศีรษะทิ่มลงได้ มักพบเด็กจมน้ำในแหล่งน้ำภายในบ้าน หรือรอบ ๆ บ้าน เช่น ถังน้ำ กะละมัง แอ่งน้ำ บ่อน้ำ ซึ่งเด็กสามารถจมน้ำเสียชีวิตได้ในแหล่งน้ำที่มีระดับความสูงเพียง 1-2 นิ้ว ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กทุกคนควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ควรเผอเรอแม้แต่เสี้ยววินาทีเดียว โดยเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องอยู่ในระยะที่มองเห็น คว้าถึงและเข้าถึง ไม่ปล่อยทิ้งให้เด็กเล่นน้ำเองตามลำพังแม้ในกะละมัง ถังน้ำ โอ่ง ควรมีการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น เทน้ำทิ้งภายหลังใช้งาน หาฝาปิด รวมถึงการจัดพื้นที่เล่นปลอดภัยให้เด็ก กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการสอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง การสอนให้เด็ก “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม” และตะโกนขอความช่วยเหลือ นอกจากนี้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องมีความรู้ในการสอนบุตรหลานให้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง และหากเด็กจมน้ำต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการกู้ชีพ และปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี . ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเทพาได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการจมน้ำและการช่วยเหลือชีวิตจากการจมน้ำในเด็กปฐมวัย และเป็นการป้องกันก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลเทพาขึ้นฟฟฟ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฝึกอบรม และปฏิบัติให้ความรู้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ

 

0.00
2 เพื่อให้เห็นความสำคัญของปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ

 

0.00
3 เพื่อสร้างทักษะให้กับเด็กในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,062.00 0 0.00
??/??/???? เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 0 0.00 -
??/??/???? ประชุมเพื่อวางแผนดำเนินงาน 0 0.00 -
3 มิ.ย. 67 - 30 ส.ค. 67 ดำเนินงานตามแผนงานโครงการ 0 10,062.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้และสามารถเฝ้าระวังการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยได้ .
  2. ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษามีความตื่นตัวและตระหนักถึงเรื่องการเสียชีวิตในเด็ก ปฐมวัยจากการจมน้ำได้.
  3. เด็กมีทักษะในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษาสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2566 00:00 น.