กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมขยับลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง5 กันยายน 2567
5
กันยายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ อบต.บ้านควน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมขยับลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง โดย
1. ให้ความรู้ เรื่อง
1.1 ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง
1.2 วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง โดยการจัดกิจกรรม
-สุขภาพดี บริโภคอาหารปลอดภัย ผักปลอดสารเคมี
-โรงเรียนปลอดขยะ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการจัดกิจกรรมขยับลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง จำนวน 105 คน

จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก1 เมษายน 2567
1
เมษายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ อบต.บ้านควน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (สุขภาพสมบูรณ์ด้วยไข่ต้ม)
    1.1 ครูร่วมกับผู้ปกครองเฝ้าระวังประเมินพัฒนาการเด็กทุกเดือน หากสงสัยพัฒนาการล่าช้าให้ส่งพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อคัดกรอง
    1.2 ครูร่วมกับผู้ปกครองกระตุ้นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าอย่างต่อเนื่อง 1 เดือน และประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจคัดกรองซ้ำ หากยังมีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่สูงกว่า
    1.3 จัดทำฐานพัฒนาการเด็กอายุ 5-12 ปี
  2. จัดกิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก
    2.1 ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก ทุก 3 เดือน
    2.2 บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสมุดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้งผู้ปกครองทราบ
    2.3 จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ พบว่ามีจำนวน 32 คน
    2.4 ให้ความรู้นักเรียน

- ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม และอาหารที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย
- วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก
3. ครูร่วมกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย
3.1 ที่โรงเรียน
- ครูกระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่งโดยการจัดกิจกรรมสุขภาพดี โดยการบริโภคอาหารปลอดภัย ผักที่ปลอดสารเคมี โดยการจัดกิจกรรมปลูกผักกินเอง และกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะและออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
- กรณีเด็กผอม โรงเรียนเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ให้เด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม จำนวน 32 คน