กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ สร้างพลังเครือข่าย ดูแลใส่ใจ จิตเวชเรื้อรัง ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี2567
รหัสโครงการ 67-L8420-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ตะโละกาโปร์
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2567
งบประมาณ 18,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุสมีณี ดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.899161,101.37085place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเป้าหมาย มีอาการกำเริบตลอดโครงการไม่เกินร้อยละ 10
34.48
2 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก
48.55
3 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัญหาสุขภาพจิตยังเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยโดยพบว่าประชากร 1 ใน 5 ของประเทศมี ปัญหาสุขภาพจิต ทำให้เกิดความพิการและสูญเสียเป็นจำนวนมากทั้งนี้เพราะปัญหาสุขภาพจิตไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเฉพาะตัวผู้ป่วยเท่านั้นแต่รวมไปถึงญาติผู้ดูแลและบุคคลอื่นๆ ในสังคมซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ปี 2566 มีผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง (Schizophrenia)ที่รับการรักษาโรงพยาบาลยะหริ่งทั้งหมดจำนวน29ราย ได้ประสบปัญหาผู้ป่วยรับการรักษาไม่ต่อเนื่อง ขาดยา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบรุนแรงและสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชน จำนวน 10 ราย(ร้อยละ 34.48)ซึ่งรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นหน้าที่คนในครอบครัว ขาดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหา จำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายร่วมด้วย
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้จัดทำโครงการสร้างพลังเครือข่าย ดูแลใส่ใจ จิตเวชเรื้อรัง ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2567 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ลดอาการกำเริบหรือการกลับมาเป็นซ้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดภาระของญาติ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนได้ตามปกติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

48.55 10.00
2 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

4.00 1.00
3 ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง มีอาการกำเริบตลอดโครงการ

ร้อยละ 3 ลดอาการกำเริบของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ให้อยู่ในระดับทรงตัว

10.00 3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,900.00 0 0.00
1 - 30 เม.ย. 67 ประชุมชี้แจงโครงการให้กับอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลตะโละกาโปร์ที่ทำหน้าที่ในการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในเขตพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์และเพิ่มศักยภาพให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนพร้อมกับเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 0 5,100.00 -
1 พ.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่เป็นเป้าหมาย ในเขตพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ โดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลตะโละกาโปร์ที่ทำหน้าที่ในการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง(ระยะเวลา 3 ครั้ง) 0 10,800.00 -
1 - 31 ส.ค. 67 ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลตะโละกาโปร์ ที่ทำหน้าที่ในการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในเขตพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์พร้อมเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ พร้ 0 3,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเป้าหมายได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ลดอาการกำเริบหรือกลับมาเป็นซ้ำ
  • เกิดระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังอย่างต่อเนื่องในชุมชน
  • เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนได้ตามปกติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 15:05 น.