กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ สร้างพลังเครือข่าย ดูแลใส่ใจ จิตเวชเรื้อรัง ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

รพ.สต.ตะโละกาโปร์

น.ส.รุสมีณีดอเลาะ
น.ส. นิลิลลายอดวารี
นายอับดุลเลาะ ตาเละ
น.ส.ซูไฮลาเจะบาการ์
นางบังอรเนาวบุตร

ตำบลตะโละกาโปร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเป้าหมาย มีอาการกำเริบตลอดโครงการไม่เกินร้อยละ 10

 

34.48
2 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

48.55
3 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

4.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัญหาสุขภาพจิตยังเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยโดยพบว่าประชากร 1 ใน 5 ของประเทศมี ปัญหาสุขภาพจิต ทำให้เกิดความพิการและสูญเสียเป็นจำนวนมากทั้งนี้เพราะปัญหาสุขภาพจิตไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเฉพาะตัวผู้ป่วยเท่านั้นแต่รวมไปถึงญาติผู้ดูแลและบุคคลอื่นๆ ในสังคมซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ปี 2566 มีผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง (Schizophrenia)ที่รับการรักษาโรงพยาบาลยะหริ่งทั้งหมดจำนวน29ราย ได้ประสบปัญหาผู้ป่วยรับการรักษาไม่ต่อเนื่อง ขาดยา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบรุนแรงและสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชน จำนวน 10 ราย(ร้อยละ 34.48)ซึ่งรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นหน้าที่คนในครอบครัว ขาดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหา จำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายร่วมด้วย
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้จัดทำโครงการสร้างพลังเครือข่าย ดูแลใส่ใจ
จิตเวชเรื้อรัง ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2567 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ลดอาการกำเริบหรือการกลับมาเป็นซ้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดภาระของญาติ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนได้ตามปกติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

48.55 10.00
2 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

4.00 1.00
3 ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง มีอาการกำเริบตลอดโครงการ

ร้อยละ 3 ลดอาการกำเริบของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ให้อยู่ในระดับทรงตัว

10.00 3.00

ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเป้าหมาย มีอาการกำเริบตลอดโครงการไม่เกินร้อยละ 10

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการให้กับอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลตะโละกาโปร์ที่ทำหน้าที่ในการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในเขตพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์และเพิ่มศักยภาพให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนพร้อมกับเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการให้กับอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลตะโละกาโปร์ที่ทำหน้าที่ในการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในเขตพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์และเพิ่มศักยภาพให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนพร้อมกับเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30คนx 30 บาทx 1 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 30คน x 60 บาท x1 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าไวนิลโครงการขนาด 1.5 * 2.5 เป็นเงิน750 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน1คนๆละ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าวัสดุและเอกสารประกอบการประชุม จำนวน25คน ชุดละ30 บาท เป็นเงิน 750 บาท
    รวมจำนวนทั้งสิ้น 5,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อสร้างพลังเครือข่าย ดูแลใส่ใจ จิตเวชเรื้อรัง ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2567 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ลดอาการกำเริบหรือการกลับมาเป็นซ้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดภาระของญาติ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนได้ตามปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5100.00

กิจกรรมที่ 2 ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่เป็นเป้าหมาย ในเขตพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ โดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลตะโละกาโปร์ที่ทำหน้าที่ในการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง(ระยะเวลา 3 ครั้ง)

ชื่อกิจกรรม
ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่เป็นเป้าหมาย ในเขตพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ โดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลตะโละกาโปร์ที่ทำหน้าที่ในการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง(ระยะเวลา 3 ครั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 3 ครั้งเป็นเงิน 5,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 30คน x 60 บาท x1 มื้อ x 3 ครั้ง เป็นเงิน 5,400 บาท
    รวมจำนวนทั้งสิ้น 10,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเป้าหมายได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ลดอาการกำเริบหรือกลับมาเป็นซ้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 3 ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลตะโละกาโปร์ ที่ทำหน้าที่ในการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในเขตพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์พร้อมเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ พร้

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลตะโละกาโปร์ ที่ทำหน้าที่ในการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในเขตพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์พร้อมเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ พร้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 30 คน x 60 บาท x1 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30คนx 30 บาทx 1 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าวัสดุประกอบการประชุม เป็นเงิน 300 บาท
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นหน้าที่คนในครอบครัว ขาดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย  การป้องกันและแก้ไขปัญหา จำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายร่วมด้วย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเป้าหมายได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ลดอาการกำเริบหรือกลับมาเป็นซ้ำ
-เกิดระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังอย่างต่อเนื่องในชุมชน
-เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนได้ตามปกติ


>