กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการธนาคารขยะ โรงเรียนบ้านปะดะดอ
รหัสโครงการ 67-L2483-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปะดะดอ
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชาณา สุวรรณนิตย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนานาค อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.15839,102.072988place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 136 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 14 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศต้องเร่งดำเนินการป้องกันแก้ไข เนื่องจากขยะมูลฝอยทั้งจากครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันการดูแลเก็บขนขยะมูลฝอยอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลนานาค ไม่สามารถจัดเก็บขยะได้ทั้งหมด จึงทำให้มีปริมาณขยะตกค้างและสะสมในแต่ละวันจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ในหมู่บ้านปะดะดอ ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น และโรงเรียน ขยะมูลฝอยยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธ์ของแมลงนำโรคหลายชนิด อีกทั้งยังก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น เหตุรำคาญ บ้านเมืองสกปรก ขาดความสวยงาม เป็นที่รังเกียจของผู้พบเห็น ทางโรงเรียนบ้านปะดะดอจึง ได้แสวงหาความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการดำเนินการลดขยะในโรงเรียน และปลูกฝัง รณรงค์ให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการจัดการขยะและนำหลัก 3Rs คือ REDUCE (การลดการใช้) REUSE (การใช้ซ้ำ)และ RECYCLE (การนำมาแปรรูปใหม่)มาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะสามารถช่วยลดปริมาณขยะได้วิธีการดังกล่าวจะเป็นทางออกที่ดีในสภาวะปัจจุบันที่จะสามารถกำจัดขยะได้อย่างครบวงจร และยังได้รับผลประโยชน์จากการกำจัดขยะนี้อีกมากมาย อาทิ การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากกระบวนการกำจัดและผลิต การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่โรงเรียน ชุมชน และยังเป็นการสร้างรายได้เสริม การสร้างความสามัคคี และความริเริ่มสร้างสรรค์ให้แก่เยาวชน โรงเรียนบ้านปะดะดอ ได้ตระหนักถึงปัญหาขยะและยังเห็นความสำคัญของการลดปัญหาขยะ และได้นำหลัก 3Rs คือ REDUCE (การลดการใช้) REUSE (การใช้ซ้ำ)และ RECYCLE (การนำมาแปรรูปใหม่) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะสามารถช่วยลดปริมาณขยะได้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกมูลฝอยที่ถูกต้องและเหมาะสม 2. เพื่อให้นักเรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะมูลฝอยสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก และรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน 3. เพื่อเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ และส่งเสริมความรู้ในการใช้หลัก 3Rs ในการจัดการมูลฝอย

นักเรียนระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 – ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 136 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านปะดะดอ จำนวน 14 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านปะดะดอทุกคน มีกิจกรรมดังนี้ 1. มีการคัดแยกขยะในโรงเรียน โดยใช้หลัก 3R
2. มีการจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียน 3. ฐานการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 450 20,000.00 0 0.00
20 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรม “การคัดแยกขยะในโรงเรียน โดยใช้หลัก 3R” 150 5,450.00 -
20 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรม “ฐานการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก” 150 2,810.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรม “การจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียน” 150 11,740.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการขยะโดยสามารถดำเนินกิจกรรมการับซื้อ และขายตามแผนงานที่วางไว้
  2. นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาในการทำงานนักเรียนสามารถดำเนินงานได้จนประสบความสำเร็จตามโครงการ
  3. โรงเรียนบ้านปะดะดอ มีธนาคารขยะที่เต็มรูปแบบ โดยมีนักเรียน ครู ผู้ปกครองและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือและสนับสนุนเข้าร่วมกิจกรรมทำให้โรงเรียนบ้านปะดะดอ ให้สามารถบริหารจัดการขยะได้อย่างมีระบบการจัดการโดยใช้ธนาคารขยะรีไซเคิลซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกทุกคนและยังช่วยให้โรงเรียนและชุมชนบ้านปะดะดอมีความสะอาด มากยิ่งขึ้น
  4. นักเรียน ครู และผู้ปกครองในชุมชน รู้จักพัฒนาตนเองตามศักยภาพโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต
  5. ท้องถิ่นเสียงบประมาณในการกำจัดขยะลดน้อยลง
  6. โรงเรียนและชุมชน มีสิ่งแวดล้อมดี มีความสะอาด ปลอดโรคติดต่อ ประชาชนมีสุขภาพดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2567 00:00 น.