กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กน้อยฟันดี ห่างไกลฟันผุ ในเด็ก 0-3 ปี ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5275-01-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่
วันที่อนุมัติ 23 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,285.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุกิจ เถาถวิล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีของเด็กช่วงอายุ ๐-๓ ปี จะต้องเริ่มจากแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพราะ ฟันของลูกเริ่มสร้างขณะที่ลูกอยู่ในครรภ์ของแม่ ภาวะโภชนาการและสุขภาพของแม่ จึงส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการ การสร้างฟันของลูกขณะที่อยู่ในครรภ์นั่นเอง โรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อ เนื่องจากสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ โดยสามารถ ถ่ายทอดเชื้อจากแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กสู่ลูกได้ การเกิดฟันผุในน้ำนมมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับฟันแท้ แต่มี รายละเอียดที่แตกต่างกัน เพราะเป็นฟันผุที่เกิดกับเด็กในช่วงอายุน้อย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนาหลายด้าน ปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมได้แก่ ฟัน อาหาร จุลินทรีย์ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ซึ่งมารดามีบทบาท สำคัญต่อภูมิคุ้มกันของลูก ผลกระทบของการมีฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะเกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อและปัญหา การบดเคี้ยวแล้ว ยังมีผลต่อน้ำหนัก และการเจริญเติบโตของเด็ก บุคลิกภาพที่ขาดความมั่นใจในตนเอง และอาจมีผล ต่อการเกิดฟันผุและพัฒนาการของฟันแท้ด้วย นอกจากนี้พบว่า เด็กที่มีฟันน้ำนมผุ โอกาสที่พันแท้จะผุมีมากกว่าเด็กที่ ไม่มีฟันน้ำนมผุสาเหตุการเกิดโรคฟันผุส่วนใหญ่ ในเด็กก่อนวัยเรียน เกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง การทำ ความสะอาดช่องปาก ฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา อาชีพ ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ทัศนคติกับการตระหนัก ถึงสุขภาพช่องปาก รวมถึงสุขภาพช่องปากของพ่อแม่ ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นหนึ่งในปัจจัยทางชีวภาพด้านสุขภาพของเด็กปฐมวัย ซึ่งจากการศึกษาของ กรมอนามัย เรื่องพัฒนาการของเด็กปฐมวัยไทยล่าสุด พบว่าเด็กปฐมวัยที่ไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปากมีโอกาส ที่จะพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น ๑.๔๓ เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก และจากการสำรวจสภาวะ สุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 4 ประเทศไทย ยังคงพบความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ ๓ ปี ร้อยละ ๕๒.๙ มีค่าเฉลี่ย ฟัน ถอน อุด ๒๔ คน และจากการข้อมูลทาง ทันตสุขภาพเด็ก อายุ ๐-๓ ปี ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่ ปี ๒๕๖๐ พบว่าพบความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ ๑-๓ ปี ร้อยละ ๕๒๒.๒ และมีค่าเฉลี่ยพัน น้ำนมผุถอน อุด (dmft) เท่ากับ ๓.๑ ซึ่งมีค่าสูงกว่าในระดับประเทศแสดงให้เห็นเด็ก ๐-๓ ปี ในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.หูแร่ ไม่สามารถทำความสะอาดช่องปากได้ดีเท่าที่ควร การป้องกันฟันผุในเด็กเล็กที่ง่ายและได้ผลดีที่สุด คือ ผู้ปกครองควรแปรงฟันให้เด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้นด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และแปรงฟันให้ต่อเนื่องจนกว่า เด็กมีพัฒนาการข้อมือที่แข็งแรง ประมาณอายุ ๓-๔ ปี เด็กจึงจะสามารถแปรงฟันได้เอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่ ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการเด็ก น้อยฟันดี ห่างโกลฟันผุ ในเด็ก ๐-๓ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๒๗ ขึ้น โดยการทำโครงการเชิงรุกในชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าวข้างต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เลี้ยงดูเด็ก ๐-๓ปีมีความรู้ ความเข้าใจในการรักษาความสะอาดในช่องปาก และฟัน

ผู้เลี้ยงดูเด็กมีระดับความรู้ในการดูแลทันตสุขภาพ เด็ก ๐-๓ ปี ที่ถูกต้อง ในระดับดี ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป

0.00
2 เพื่อให้ผู้เลี้ยงดูเด็ก ๐-๓ปี รู้จักและเข้าใจ ร้อยละ ขั้นตอนการแปรงฟัน ดูแลช่องปากที่ถูกต้องถูกวิธี

ผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถแปรงฟันเด็ก ๐-๓ ปี ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๑๐๐

0.00
3 เพื่อให้เด็ก ๐-๓ ปีในชุมชนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์เฉพาะที่

เด็กอายุ 0-3 ปี ที่มีฟันได้รับการทาฟูลออไรค์วานิช ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,285.00 0 0.00
6 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 33,285.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เลี้ยงดูเด็ก ๐-๓ ปี มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลช่องปากและฟัน สามารถแปรงฟันให้ลูกได้อย่างถูกวิธี
๒. เด็ก ๐-๓ ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับคำแนะนำ และส่งต่อมารับการ รักษาที่จำเป็นที่โรงพยาบาลได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 11:08 น.