โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุและมุสลีมะฮ์ตำบลบานา
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุและมุสลีมะฮ์ตำบลบานา |
รหัสโครงการ | 67-L3013-02-29 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ประธานกลุ่มมุสลีมะฮ์อัลกุรอ่านบานา |
วันที่อนุมัติ | 23 กุมภาพันธ์ 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 20 เมษายน 2567 - 28 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 28 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 61,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางกอลีเยาะ กอลำ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอับดุลกอเดร์ การีนา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับการเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยสัดส่วนจำนวนประชากรในวัยทำงานและวัยเด็กลดลง ในขณะที่ประชากรที่อยู่ ในวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้คนไทยมีอายุยืนยาว แต่ยังขาดความรู้และทักษะในการป้องกันและดูแลสุขภาพตนเอง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากทั้งในระดับชาติและในระดับโลก ในระดับชุมชนและครอบครัว เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีผลทำให้โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนไปเป็นครอบครัวเดี่ยว ครัวเรือนมีขนาดเล็กลง บางครอบครัวพ่อหรือแม่อยู่ตามลำพัง และยังต้องทำงานเพื่อหาเงินมาใช้จ่าย การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญา ความคิดและทัศนคติที่ดีจากครอบครัวที่อยู่ร่วมกันหลายคน หรือเรียนรู้ ภูมิปัญญา จากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทำให้ความเชื่อมโยงความรู้ ภูมิปัญญาจากรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งในครอบครัวน้อยลง หรือขาดหายไป เกิดช่องว่างความสัมพันธ์ระหว่างวัย ผู้สูงอายุมีความกังวลที่จะต้องเผชิญกับช่วงวัยการเปลี่ยนผ่านของชีวิตที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย เป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต หรือต้องมีการปรับระบบวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ทั้งความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านการเรียนรู้ สติปัญญา ด้านเศรษฐกิจและสถานภาพทางสังคม สิ่งเหล่านี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
การดูแลจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจากหน่วยงานรัฐที่ผ่านมา ผู้สูงอายุ สังคม ชุมชนคาดหวังให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการ ซึ่งรัฐก็มีนโยบายและมาตรการในการสงเคราะห์ผู้สูงอายุในด้านต่างๆ เช่น ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่ม/ชมรม เบี้ยยังชีพรายเดือน และสวัสดิการอื่นๆ แต่ผู้สูงอายุยังขาดความรู้และทักษะในการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพให้สามารถพึ่งพาตนเอง ประกอบกับระบบครอบครัว เครือญาติ และเพื่อนบ้านในชุมชนขาดปัจจัยหลักใน 3 ประการ คือ 1) การให้ความสำคัญของบทบาทผู้สูงอายุและการตระหนักถึงบทบาทครอบครัวและชุมชนต่อการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะต้องปรับวิธีคิด ปรับจิตใจ และปรับเวลาให้พร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิดและมากขึ้น 2) การขาดความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ให้มีสุขภาวะกาย ใจ สังคมและปัญญาที่เข้มแข็ง สามารถปรับวิถีชีวิตให้เหมาะสมกับการอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข 3) การตระหนักว่าผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีคุณค่าและผ่านประสบการณ์มามากมาย ทำอย่างไรครอบครัวและชุมชนจะนำสิ่งที่ผู้สูงอายุมีถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความภาคภูมิใจที่สามารถทำประโยชน์ให้กับลูกหลานมากกว่า รู้สึกว่าเป็นภาระที่ลูกหลานต้องเลี้ยงดู (วาทินี บุญชะลักษีและยุพิน วรสิริอมร,2539)
ผู้สูงอายุหญิงบ้านบานา ร่วมกับกลุ่มมุสลีมะฮ์อัลกุรอานบานา จึงยึดหลักอัลกุรอานนำมาเป็นกลวิธีที่สําคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันควบคู่กับการส่งเสริมสุขภาพ โดยอาศัยกระบวนการอัลกุรอานคือ การเรียนรู้ การฝึกทักษะการอ่าน และการแปลความหมายอัลกุรอาน เพื่อนำไปปฏิบัติและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ซึ่งจะทำให้สุขภาวะกาย ใจ สังคมและปัญญาดีขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุและกลุ่มมุสลีมะฮ์ได้รับความรู้ ในการดูแลสุขภาพ และได้รับการตรวจประเมิน สุขภาพเบื้องต้น ครอบคลุมกาย ใจ และสังคม ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุและกลุ่มมุสลีมะฮ์ที่เข้าร่วม โครงการมีความรู้และได้รับการตรวจประเมินสุขภาพ เบื้องต้นครอบคลุมกาย ใจ และสังคม |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุและกลุ่มมุสลีมะฮ์ได้รับความรู้ มี ทักษะในการอ่านอัลกุอานและนำไปปฏิบัติใน การดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุและกลุ่มมุสลีมะฮ์ที่เข้าร่วม โครงการมีความรู้ สามารถอ่านอัลกุอานและนำไป ปฏิบัติในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม |
0.00 | |
3 | เพื่อให้ครอบครัวผู้สูงอายุและกลุ่มมุสลีมะฮ์มี ความรู้สามารถดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มี สุขภาพที่ดี ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ร้อยละ 80 ของครอบครัวผู้สูงอายุและกลุ่มมุสลีมะฮ์ที่ เข้าร่วมโครงการมีความรู้สามารถดูแลส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 325 | 61,000.00 | 7 | 61,000.00 | |
1 เม.ย. 67 - 28 ก.ย. 67 | ประชาสัมพันธ์โครงการ โดยผ่านแกนนำหมู่บ้าน อสม. หอกระจายข่าวในมัสยิด ป้ายไวนิล | 15 | 750.00 | ✔ | 750.00 | |
20 เม.ย. 67 | ประชุมชี้แจง วางแผนการดำเนินงาน และจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกับทีมแกนนำหมู่บ้าน ม.3 และคณะกรรมการกลุ่มมุสลีมะฮ์อัลกุรอานบานา | 15 | 525.00 | ✔ | 525.00 | |
20 เม.ย. 67 - 21 ก.ย. 67 | ตรวจคัดกรองประเมินสุขภาพผู้สูงอายุและกลุ่มมุสลีมะฮ์ และให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ | 50 | 3,500.00 | ✔ | 3,500.00 | |
27 เม.ย. 67 - 14 ก.ย. 67 | กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุและกลุ่ม มุสลีมะฮ์ โดยการอ่านอัลกุรอาน | 50 | 47,000.00 | ✔ | 47,000.00 | |
29 มิ.ย. 67 - 21 ก.ย. 67 | ส่งเสริมสุขภาพจิตตามสุนนะห์ โดยการให้ความรู้จากการแปลความหมายอัลกุรอ่าน เพื่อนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ประจำวันและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ทุก 3 เดือน | 65 | 5,750.00 | ✔ | 5,750.00 | |
29 มิ.ย. 67 - 21 ก.ย. 67 | ส่งเสริมสุขภาพ โดยการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ | 65 | 1,200.00 | ✔ | 1,200.00 | |
28 ก.ย. 67 | การประเมินผล สรุปผล และนำเสนอผลการดำเนินโครงการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | 65 | 2,275.00 | ✔ | 2,275.00 |
1.ผู้สูงอายุและกลุ่มมุสลีมะฮ์ เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรอง ประเมินสุขภาพเบื้องต้น และมี ความรู้ในการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.ผู้สูงอายุและกลุ่มมุสลีมะฮ์ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ สามารถอ่านอัลกุอานได้ และนำไปปฏิบัติในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3.ครอบครัวผู้สูงอายุและกลุ่มมุสลีมะฮ์ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ สามารถดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้ มีสุขภาพกาย ใจที่ดี ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
4.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ได้รับการดูแลจากครอบครัว สามารถส่งเสริม แก้ไข และรักษา ได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2567 00:00 น.