กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กตำบลดอน สุขภาพดีทั้ง 5 ด้าน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L8419-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 56,270.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอะหลัน มะมิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุขโดยกำหนดยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศไว้ 4 ด้าน หนึ่งในสี่ด้านนั้นคือ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ (Prevention Promotion& Protection Excellence) โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย เด็กกลุ่มอายุ 0-5 ปี หมายถึง เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ซึ่งเป็นช่วงอายุสำคัญที่สุดของมนุษย์ เพราะเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเร็วมาก สภาพปัญหา : จากการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาสุขภาพของเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) เรื่อง พัฒนาการ ภาวะโภชนาการ การเจริญเติบโต สุขภาพช่องปาก และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ยังไม่บรรลุเป้าหมาย กล่าวคือ จากผลการสำรวจจังหวัดปัตตานี ปี 2566 ด้านพัฒนาการ พบว่า การคัดกรองพัฒนาการเด็ก 5 กลุ่มอายุ (9,18,30,42และ60 เดือน) คิดเป็นร้อยละ 76.06 (เป้าหมาย 42,441 คน คัดกรอง 32,284 คน) พัฒนาการสงสัยล่าช้าจำนวน 6,696 คน กลุ่มสงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตาม 5,636 คน พบพัฒนาการล่าช้า 36 คน (ข้อมูลHDC ประมวลผลวันที่ 20 พ.ย.2566) ด้านการเจริญเติบโตพบว่าเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 55.61 ด้านทันตสาธารณสุข จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ จังหวัดปัตตานี พบว่าเด็กมีอัตราฟันน้ำนมผุร้อยละ 30.36 วัคซีนพื้นฐานครบตามเกณฑ์ร้อยละ 37.41นอกจากนี้ยังพบว่าเด็ก 0-5 ปี มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 34.4 ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการ ในระดับตำบลดอน อำเภอปะนาเระ ยังขาดการติดตามกำกับงานตาม Catchment areaขาดทักษะในการถ่ายทอดความรู้ให้ประชาชนได้อย่างชัดเจน บางพื้นที่ขาดการติดตามเยี่ยมบ้านและพบว่าเด็ก 0-5 ปี มีปัญหาทั้ง 5 ด้าน (วัคซีน พัฒนาการ โภชนาการ ฟันและภาวะซีด) เพิ่มมากขึ้น ความเร่งด่วน / ผลที่คาดหวัง : จากการสำรวจ ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พบว่าเด็ก 0-5 ปี ทั้งหมด 176 คน ยังมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ภาวะสุขภาพฟันและความครอบคลุมการได้รับวัคซีน ซึ่งจากปี 2566 พบว่าเด็ก 0-5 ปี ภาพรวมสูงดีสมส่วนร้อยละ 67.80 (เกณฑ์ร้อยละ 66) มีพัฒนาการสมวัย 76.19 (เกณฑ์ร้อยละ 85) สงสัยล่าช้า 23.81 ติดตามสงสัยล่าช้าภายใน 30 วัน ร้อยละ 90 (เกณฑ์ร้อยละ 90) มีภาวะฟันผุร้อยละ 29.0 และความครอบคลุมการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ในเด็กอายุครบ 1 ปี, 2 ปี, 3 ปี และ 5 ปีร้อยละ 80.77 ,50.0 ,20.51, 30.0และยังพบว่าตำบลดอน พบเด็กที่มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 10 นอกจากนี้สาเหตุสำคัญของปัญหายังเกิดจากเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่ได้การดูแลเฝ้าระวัง กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ ภาวะโภชนาการตามช่วงวัยอย่างเพียงพอและเหมาะสม ทั้งจากครอบครัว ชุมชน รวมถึงหน่วยบริการที่ดูแลเด็กเหล่านี้อยู่ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนระดับอนุบาล เป็นต้น และเพื่อการจัดการปัญหาให้มีประสิทธิภาพจึงต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วนในการดำเนินการแก้ปัญหา บูรณาการกับตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วันสู่ 2,500 วัน เข้าสู่วาระคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.)ตำบลดอน จึงได้จัดทำโครงการ เด็กตำบลดอน สุขภาพดีทั้ง 5 ด้าน ให้ผู้ปกครองตื่นรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็ก 0-5 ปี อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการสร้างกระแสเรื่องการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย ๕ ด้าน

ผู้ปกครองมีพฤติกรรมพึงประสงค์ 12 ข้อ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีมีพฤติกรรมพึงประสงค์ ๑๒ ข้อ

มีผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้เครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเด็กปฐมวัย

ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการร้อยละ 85

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 340 56,270.00 0 0.00
7 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 เด็กตำบลดอน สุขภาพดีทั้ง 5 ด้าน 150 0.00 -
5 เม.ย. 67 1 ประชุมชี้แจงโครงการให้คณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้องทราบพร้อมร่วมวางแผนการดำเนินงาน (กรรมการระดับตำบล,หมู่บ้าน 40 คน) 40 1,000.00 -
10 เม.ย. 67 4 เครื่องตรวจความเข้มข้นของฮีโมโกลบินของเลือด (Hemocue) 0 38,100.00 -
16 เม.ย. 67 2 ประชุมถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก่ แกนนำชุมชน (อสม. ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง) และผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ด้าน โภชนาการ พัฒนาการ ฟัน ภาวะซีด วัคซีน จำนวน 50 คน 50 8,120.00 -
17 เม.ย. 67 3 อบรมผู้ปกครอง เรื่อง พฤติกรรมที่พึงประสงค์ 12 ข้อ จำนวน 50 คน 50 8,000.00 -
26 เม.ย. 67 5 ออกตรวจตรวจคัดกรองภาวะซีดในเด็ก ศพด.โรงเรียน, และชุมชน 50 1,050.00 -
  1. แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนตำบลการดูแลสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัยตำบลดอน
  2. ประชุมชี้แจงโครงการให้คณะกรรมการระดับตำบลและผู้เกี่ยวข้องทราบพร้อมร่วมวางแผนการดำเนินงาน
  3. ประชุมถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ แกนนำชุมชน (อสม.ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง) และผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบ ด้าน โภชนาการ พัฒนาการ ฟัน ภาวะซีดและวัคซีน
  4. อบรมผู้ปกครอง เรื่อง พฤติกรรมที่พึงประสงค์ 12 ข้อ
  5. จัดทำแผนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็ก ใน ศพด.และชุมชน
  6. จัดซื้อเครื่องตรวจความเข้มข้นของฮีโมโกลบินของเลือด (Hemocue)
  7. ให้ความรู้และตรวจคัดกรองภาวะซีดในเด็ก ศพด. และชุมชน
  8. ประชุมทบทวนการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
  9. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความรอบรู้เรื่อง พฤติกรรมที่พึงประสงค์ทำให้สามารถดูแลสุขภาพลูกทั้ง 5 ด้าน ได้อย่างมีคุณภาพ
  2. ประชาชนมีการรับรู้เรื่องการดูแลสุขภาพลูกทั้ง 5 ด้าน
  3. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการ
  4. เด็กตำบลดอน มีสุขภาพดี สมวัย IQ ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 00:00 น.